รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
จากความสำเร็จของนิทรรศการ “บางโพซิเบิ้ล” (BANG PO(SSIBLE) เมื่อปี 2565 ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กับชุมชนประชานฤมิตร ชุมชนเก่าแก่ย่านบางโพ ที่เป็นแหล่งรวมผู้ประกอบการงานไม้ที่มีอายุกว่า 80 ปี บนถนนสายไม้บางโพ เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างนิสิตกับชุมชน เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ในปีนี้ได้มีการต่อยอดสู่ นิทรรศการ “จากบางโพ(ซิเบิ้ล) สู่บางโพลีฟวิ่งแล็ป : ร่วมเรียน –ร่วมสร้าง ชุมชนกับมหาวิทยาลัย” (From Bang Po (ssible) to Bang Pho Living Lab : University – Community Co – Learning and Co – Creation) ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้นิทรรศการบางโพ ซ.ประชานฤมิตร เป็นห้องทดลองปฏิบัติการนอกห้องเรียนของนิสิตผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน รวมทั้งเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่ร่วมสร้างสรรค์และยกระดับชุมชนเป็นพื้นที่ร่วมทดลองปฏิบัติการจริงระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและชุมชนสายไม้บางโพ
พิธีเปิดนิทรรศการโดยนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566 ณ ศาลเจ้าแม่ทับทิม ซ.ประชานฤมิตร จากนั้น รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย ผศ. สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนายภูริสิทธิ์ สิริวโรธากุล ประธานชุมชนบางโพ ร่วมพิธีเปิดนิทรรศการ ณ ศูนย์การเรียนรู้นิทรรศการบางโพ
ผศ.ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ และอาจารย์ภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการจัดนิทรรศการ กล่าวถึงที่มาของโครงการในครั้งนี้ว่า นิทรรศการ “จากบางโพ(ซิเบิ้ล) สู่บางโพลีฟวิ่งแล็ป : ร่วมเรียน – ร่วมสร้าง ชุมชนกับมหาวิทยาลัย” เป็นผลมาจากนิทรรศการ “ บางโพ (ซิเบิ้ล) ” ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้เข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนจนประสบความสำเร็จเมื่อปีที่แล้ว ในปีนี้ได้ขยายขอบเขตการทำงานที่ใหญ่ขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก CU Social Innovation Hub ทำให้ชุมชนบางโพเป็นลีฟวิ่งแล็ปหรือห้องทดลองปฏิบัติการนอกห้องเรียนสำหรับนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จำนวน 180 คน และเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนใน 7 รายวิชา เช่น วิชาโครงสร้าง วิชาภูมิทัศน์ วิชาการวางผังเมือง การฟื้นฟูเมือง การออกแบบสถาปัตยกรรม ฯลฯ ซึ่งนิสิตได้มีโอกาสลงพื้นที่ทำงานจริงร่วมกับชุมชน
“นิทรรศการในครั้งนี้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบด้วย ซึ่งแตกต่างจากปีที่แล้ว ที่นิสิตเป็นผู้ออกแบบ ส่วนหนึ่งของผลงานที่น่าสนใจในนิทรรศการครั้งนี้ได้แก่ แผนที่ท่องเที่ยวเขตบางซื่อ ซึ่งมีทั้งสิ้น 6 เวอร์ชั่น เช่น แผนที่สายมู สายกิน สายคอนเทนต์ เป็นต้น สิ่งสำคัญที่นิสิตจะได้รับจากงานนี้ก็คือการออกไปปฏิบัติงานจริงและได้ประสบการณ์จากการทำงานร่วมกับบุคคลภายนอกนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน” ผศ.ดร.ปริญญ์กล่าว
นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “กรุงเทพมหานคร มีนโยบายสร้างเศรษฐกิจเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจากคนในย่านนั้นๆให้ความร่วมมือร่วมใจกัน มีหลายย่านที่เรากำลังจะผลักดัน หนึ่งในนั้นคือ บางโพซึ่งมีผลิตภัณฑ์ไม้และมีสินค้าอื่นๆที่จะสามารถต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ของย่านบางโพได้ในอนาคต สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นเศรษฐกิจเมืองได้ในอนาคต”
ทางด้าน นายภูริสิทธิ์ สิริวโรธากุล ประธานชุมชนประชานฤมิตร เปิดเผยว่า “นิทรรศการบางโพลิฟวิ่งแล็ปในปีนี้ต่อยอดมาจากบางโพ(ซิเบิ้ล) โดยนำชุมชนมาเป็นห้องทดลองใหญ่ ซึ่งจะเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าชุมชนจะอยู่อย่างไรให้ยั่งยืน เช่น การสร้างวิสัยทัศน์ การสร้างกระบวนการเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ เพื่อจะเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไปในอนาคต ชุมชนของเราเป็นชุมชนการค้างานไม้ การที่นิสิตได้เข้ามาช่วยสำรวจพื้นที่และแก้ไขปัญหา ทำให้ชุมชนของเราเห็นมุมมองต่างๆ ที่ชุมชนมองข้ามไป เช่น พื้นที่ในการเดิน การปรับปรุงคลองให้ใสสะอาด สวยงามและสามารถพักผ่อนได้ รวมถึงการออกแบบแผนที่และโครงสร้างอาคารต่างๆ ทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆที่สามารถปรับใช้ได้ในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างมากชุมชนรู้สึกดีใจที่ได้ทำงานร่วมกับนิสิตที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาชุมชน”
นายภคิน ตุลาประพฤทธิ์ นางสาวอารียานา ที. สมฤทธิ์ และนายคฑาทอง ธรรมโสภณสกุล นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้มีส่วนร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ในงานด้าน Motion Graphic เปิดเผยว่า “เป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมทำงานที่ชุมชนบางโพในครั้งนี้ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากนอกห้องเรียน รวมทั้งยังได้ฝึกประสบการณ์ในวิชาชีพจริง พวกเรารู้สึกดีใจที่ได้ร่วมทำงานกับชุมชน ได้นำสิ่งที่เรียนมาในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้งานจริง ผู้เข้าชมนิทรรศการจะได้รับแรงบันดาลใจในการทำให้ชุมชนมีการพัฒนาที่ยั่งยืน”
นิทรรศการ “จากบางโพ(ซิเบิ้ล) สู่บางโพลีฟวิ่งแล็ป” จัดแสดง ณ ศูนย์การเรียนรู้ นิทรรศการถนนสายไม้บางโพ ซอยประชานฤมิตร ตั้งแต่บัดนี้ – 31 กรกฎาคม 2565 เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00 – 17.00 น.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 09-0986-6542 หรือ Facebook : https://www.facebook.com/bangphowoodstreet.th?mibextid=ZbWKwL
ภาพ : สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้