ข่าวสารจุฬาฯ

เสวนาทางวิชาการ ฬ.จุฬาฯ Seminar Series “ตบปากด้วยกฎหมาย : สู่การมี Anti-SLAPP Law ในประเทศไทย?”

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Eisenhower Fellows (EF) ขอเชิญร่วมการเสวนาทางวิชาการ ฬ.จุฬาฯ Seminar Series “ตบปากด้วยกฎหมาย : สู่การมี Anti-SLAPP Law ในประเทศไทย?” ในวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ชั้น 4 อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ หรือติดตามรับชมถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live ทาง Facebook : Faculty of Law, Chulalongkorn University

ฟังการปาฐกถาและการเสวนาในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจจากคณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมาย สิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย

  • การปาฐกถาในหัวข้อ Towards Anti-SLAPP Law in Thailand? โดย ศ.กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ ศาสตราจารย์ภิชานคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
  • การเสวนาประสบการณ์จากนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูก SLAPP โดย นางอังคณา  นีละไพจิตร กรรมการในคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการบังคับสูญหาย นายนคร  ชมพูชาติ ทนายความสิทธิมนุษยชน นางสาวสมพร  เพ็งค่ำ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ นางสาวภัสราวดี  ธนกิจวิบูลย์ผล นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ศรีประภา  เพชรมีศรี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

  • การเสวนาทางวิชาการ ฬ.จุฬาฯ Public Lecture หัวข้อ ตบปากด้วยกฎหมาย : สู่การมี Anti-SLAPP Law ในประเทศไทย? โดย นางสาวพูนสุข  พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน นางสาวศยามล  ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายณัฐวุฒิ  บัวประทุม รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ฝ่ายกฎหมาย (*รอยืนยัน)

ดำเนินรายการและร่วมเสวนาโดย อ.ดร.พัชร์  นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าฟังการเสวนาวิชาการได้โดยสแกนคิวอาร์โค้ดที่โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า