รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 กรกฎาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส “sPace” คุณภาพสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นวัตกรรมทางการแพทย์ ฝีมือนักวิจัยไทย ให้แก่โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อช่วยเหลือคนพิการ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ เป็นผู้ส่งมอบ และมี นพ.สุโรจน์ ศุภเวคิน รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และตัวแทนผู้พิการจำนวน 3 ราย เป็นผู้รับมอบฯ ณ โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส “sPace” มุ่งหวังให้ผู้พิการเข้าถึงและนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมีความปลอดภัยและได้รับมาตรฐานไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดให้ประชาชนผู้พิการทุกกลุ่มได้ยกระดับความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และประกอบอาชีพได้มากขึ้นต่อไป
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส “sPace” เป็นวัสดุที่มีคุณภาพสูงทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ มีแรงส่งช่วยลดการออกแรงในการเดิน ส่งให้เดินขึ้นบันไดและทางชันได้ง่ายขึ้น และสามารถเดินได้ทุกพื้นผิวและได้หลากหลายความเร็ว บิดงอตัวได้รอบทิศทาง ทำให้เดินได้ทั้งพื้นที่ขรุขระ ทางลาด ทางชัน ซึ่งนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส “sPace” มีประสิทธิภาพเทียบเท่าเท้าเทียมไดนามิกคุณภาพสูงในระดับสากล และเหมาะสมกับขนาดเท้าและน้ำหนักของผู้พิการแต่ละราย ซึ่งประกอบด้วยเท้า 11 ขนาด ตามความยาวและน้ำหนักตัวของผู้พิการ ดังนี้
1) Size S (22-23 เซ็นติเมตร) น้ำหนักตัว 40-49, 50-59 และ 60-69 กิโลกรัม
2) Size M (24-25 เซ็นติเมตร) น้ำหนักตัว 50-59, 60-69, 70-79 และ 80-100 กิโลกรัม
3) Size L (26-27 เซ็นติเมตร) น้ำหนักตัว 60-69, 70-79, 80-89 และ 90-110 กิโลกรัม
นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส “sPace” ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการคิดค้นและผลิตนวัตกรรมนี้ เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้พิการขาขาดที่เป็นตำรวจ ทหาร นักกีฬา ที่ได้รับใช้ประเทศชาติ และผู้ด้อยโอกาสที่มีรายได้น้อยในสังคมจำนวน 200 ราย ผ่านโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ 5 โรงพยาบาล และโรงพยาบาลในต่างจังหวัด 12 โรงพยาบาล ได้แก่ ภาคใต้ 7 จังหวัด (เป้าหมายต่อไปจะเป็นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี และภูเก็ต) ภาคเหนือ 2 จังหวัด ภาคอีสาน 3 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 17 โรงพยาบาล โดยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์เอสเพส “sPace” ผลิตโดยบริษัท มุทา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ขึ้นทะเบียนสถานประกอบผลิตและจดแจ้งผลิตภัณฑ์กับทาง อย. ขณะเดียวกันก็จะเป็นโอกาสที่ดีที่จะสามารถรับ feed back ของผู้พิการที่ได้รับเท้าเทียมไดนามิกในโครงการนี้ด้วย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และประเมินผลในประเด็นต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงหรือเพิ่มเติมการออกแบบตามความเหมาะสมต่อไป
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
อธิการบดีจุฬาฯ 1 เดียวผู้นำด้านการศึกษาจาก 48 ผู้ทรงอิทธิพลไทย
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยระดับอุดมศึกษาประเภทจะเข้และซอสามสาย
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้