รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 กรกฎาคม 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าวการประกวดหางเครื่องระดับมัธยม – อุดมศึกษา โครงการลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล เมื่อวันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 ณ Meeting Point ชั้น G ศูนย์การค้าบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนรุ่นใหม่และประชาชนทั่วไปในการเข้าถึง รู้จัก อนุรักษ์ และสร้างสรรค์ต่อยอดการเต้นหางเครื่อง รวมถึงเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระสำคัญของวงการเพลงลูกทุ่งไทย ครบรอบ 84 ปี ยกระดับลูกทุ่งไทยเป็นซอฟต์พาวเวอร์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญสู่อนาคต ทั้งในประเทศไทยและระดับโลก โดยมี รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การประกวดหางเครื่องระดับมัธยม-อุดมศึกษา
จากนั้นเป็นงานแถลงข่าวการประกวดหางเครื่องระดับมัธยม – อุดมศึกษา ผู้ร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย คุณศตกมล วรกุล ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัทอินเทลลิเจ้นท์ ครีเอทีฟ แอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด นายวีระพงษ์ กังวานนวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและขับเคลื่อนสังคม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ ผศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการ จากนั้นเป็นการเสวนาหัวข้อ “จากหางเครื่องเปลี่ยนผ่านสู่แดนเซอร์” โดย ครูนพพร พิกุลสวัสดิ์ ครูสอนหางเครื่องและรีวิวประกอบเพลงวงดนตรีสายัณห์ สัญญา ศรชัย เมฆวิเชียร คุณอ๊อด โฟร์เอส เจ้าของคณะหางเครื่องก่อนผันตัวมาเป็น เจ้าพ่อรำวงชาวบ้าน แม่แดงต้อย (อุษา แก้วนิยม) แม่เนตรแก้ว แววสุดา หางเครื่องรุ่นเก๋าจากวงดนตรีครูสุรพล สมบัติเจริญ คุณปิ๋ม ซีโฟร์ นักออกแบบท่าเต้น -Choreographer ผู้คิดท่าเต้นเพลงลูกทุ่งยอดนิยมยุคใหม่ และคุณแหวด อรอนงค์ นครสวรรค์ แดนเซอร์มืออาชีพ น้องสาวฮาย อาภาพร
ปิดท้ายด้วยการแสดงโชว์หางเครื่อง-แดนเซอร์ โดยหางเครื่องรุ่นเก๋าจากวงดนตรีครูสุรพล สมบัติเจริญ รวมถึง การแสดงจำลองหางเครื่องยุควงดนตรี สายัณห์ สัญญา และศรชัย เมฆวิเชียร พร้อมรีวิวเพลงย้อนยุคฝึกซ้อมโดยครู นพพร พิกุลสวัสดิ์ ในบทเพลง รักเธอเท่าฟ้า และ อ้อนจันทร์ นอกจากนี้ยังมีการโชว์เพลงที่มีท่าเต้นประกอบเป็นเอกลักษณ์เพลงรุ่นใหม่ เช่น รักจริงให้ติงนัง เลิกแล้วค่ะ โบว์แดงแสลงใจ คุณลำไย แต่งงานกันเถอะ หมากัด พกเมียมาด้วยเหรอ อยากเจอคนจริงใจ เด็กดอยใจดี
ผศ.ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า กิจกรรมการประกวดหางเครื่องจะรับสมัครน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 15 – 22 ปี ร่วมสร้างทีมส่งเข้าประกวด โดยจะจัดควบคู่ไปกับการเสวนาย่อยที่จะมุ่งถอดบทเรียนและจัดการองค์ความรู้ที่ได้รับจากศิลปินลูกทุ่งของแต่ละภาค เริ่มจาก จ.ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา และกรุงเทพฯ สำหรับกติกาการสมัครและแข่งขันที่จะกระจายไปใน 4 ภูมิภาค สามารถติดตามได้ทาง https://www.facebook.com/commartschulaofficial โดยจะประกาศกำหนดการ กติกา และรางวัลในวันพุธที่ 19 กรกฎาคมเป็นต้นไป
โครงการ “ลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล ร่วมเฉลิมฉลอง 84 ปีลูกทุ่งไทย เป็นการต่อยอดองค์ความรู้และสุนทรียะวัฒนธรรมลูกทุ่งอย่างรอบด้าน เพื่อสร้างปรากฏการณ์ให้เห็นว่าเพลงลูกทุ่งไทยเป็นศิลปะที่มีรากเหง้า มีการเติบโต มีพัฒนาการและมีความร่วมสมัยคู่ไปกับคนไทย สังคมไทยและสังคมโลกตลอดไป
โครงการนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกในทุกองค์ประกอบของการสร้างสรรค์เพลงลูกทุ่ง ไม่ว่าจะเป็นครูเพลง นักร้อง นักดนตรี หางเครื่อง ห้องบันทึกเสียง ผู้จัดจำหน่าย และอีกหลาย ๆ ภาคส่วนที่ประกอบสร้างเป็นเพลงลูกทุ่งไทยซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมสำคัญที่คนไทยชื่นชอบ โดยมีการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูลจากปากของครูเพลง นักร้อง นักดนตรี นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ลูกทุ่งไทย เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยนวัตกรรมด้านวัฒนธรรมที่ต่อยอดเพลงลุกทุ่งไทยก้าวสู่วงการดนตรีในระดับสากล
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้