ข่าวสารจุฬาฯ

Action Learning นิสิต MBA ศศินทร์ จุฬาฯ ลงพื้นที่บางลำภูล่าง เรียนรู้สร้างแนวคิดนวัตกรรมใหม่เพื่อชุมชน

          สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับการศึกษาแบบ Action Learning ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำกรณีศึกษา เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการทำงาน มีกระบวนการคิดหาวิธีในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน เช่นเดียวกับวิชา Pricing Strategy โดย ผศ.ดร.ยุพิน ภัทรพงศ์สันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ ได้นำนิสิต MBA ในชั้นเรียนลงพื้นที่ทัศนศึกษาชุมชนบางลำภูล่าง (คลองสาน) เพื่อศึกษาเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ผ่าน Sasin Action Learning หลักสูตรนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวทางการศึกษาความคิดเกี่ยวกับคุณค่าในงานบริการ ผลิตภัณฑ์ และประสบการณ์ในการเรียนรู้นวัตกรรมแนวทางใหม่อย่างมีกลยุทธ์ การทัศนศึกษาช่วยให้นิสิตได้ซึมซับวิถีความเป็นอยู่ของชุมชน  และมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนนี้ในการเติบโตทั้งทางการตลาดและการพัฒนาพื้นที่ในหลากหลายมิติ เช่น การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม อาหารของคนในพื้นที่  วิถีความเป็นอยู่ดั้งเดิมที่มีความน่าสนใจ  โดยนำนวัตกรรมทางความคิดในรูปแบบใหม่เข้ามานำเสนอให้กับชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และเป็นโอกาสในการเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ ทำให้นิสิตสามารถคิดวิเคราะห์สถานการณ์จริงและนำการเรียนรู้ไปใช้ได้จริง

          การนำนิสิตในชั้นเรียนลงพื้นที่ศึกษาชุมชนบางลำภูล่าง ทำให้นิสิตมีความเข้าใจประสบการณ์จริงในระหว่างการทัศนศึกษา และได้รับแรงบันดาลใจให้ดึงข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์ และนำมาอภิปรายในห้องเรียน เมื่อลงพื้นที่สำรวจชุมชน นิสิตจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น เรื่องของตลาดเช้าชุมชนอายุ 200 ปี ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รู้จักอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นและลักษณะเฉพาะของชุมชน และการแสดงศิลปะโบราณกระตั้วแทงเสือ สมัยกรุงศรีอยุธยาที่เป็นมรดกตกทอดดั้งเดิมของคนในพื้นที่บางลำภูล่าง ซึ่งอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้เห็นถึงวิธีการเพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน

          นอกจากนี้ นิสิตยังได้ลงพื้นที่สำรวจวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งตามกำแพงข้างทางเต็มไปด้วยศิลปะสมัยใหม่ตามแนวคิดการพัฒนาชุมชนของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่  ในขณะเดียวกันนิสิตได้เจาะลึกถึงรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น และยังได้รับข้อมูลเชิงลึกอันเกี่ยวกับเศรษฐกิจระดับรากหญ้า จุดประกายความคิดนิสิตในการสร้างรายได้ของชุมชนทั้งจากการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์  ในขณะเดียวกันยังคงรักษามรดกทางศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่างยั่งยืน เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างแนวคิดทางธุรกิจที่สร้างสรรค์เป็นรูปเป็นร่าง

          กระบวนการเรียนรู้นี้มีส่วนในการส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้า ในขณะเดียวกันก็ตอบสนองความต้องการของสังคม ช่วยให้นิสิตได้สำรวจแง่มุมที่ซ่อนอยู่ของชุมชนบางลำภูล่างที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก กระตุ้นให้พวกเขาวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และกำหนดแนวทางแก้ไขที่ปลดล็อกศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้ พร้อมตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของชุมชนท้องถิ่นและเศรษฐกิจโดยรวมของชุมชน

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า