ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือกับกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมพัฒนางานวิจัยการเลี้ยงหนอนไหมเพื่อใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนากระบวนการเลี้ยงหนอนไหมและผลิตรังไหมอินทรีย์จากโรงเลี้ยงหนอนไหมต้นแบบให้มีมาตรฐานเหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

งานแถลงข่าวความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และนายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม เป็นประธานในพิธี ผู้ร่วมลงนามเป็นพยานประกอบด้วย ศ.ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คุณนุชจรี วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม และว่าที่ร้อยตรี ธีระนันท์ พิจารโชติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีหม่อนไหม

รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือทางด้านงานวิจัยวิชาการกับกรมหม่อนไหมมานานกว่า 17 ปีแล้ว การลงนามความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับกรมหม่อนไหมในครั้งนี้จะทำให้เกิดความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์ความรู้ที่กรมหม่อนไหมสนับสนุนให้กับจุฬาฯ มาโดยตลอดเกิดการต่อยอดเพื่อการใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ได้ โดยมีแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนากระบวนการเลี้ยงไหม เพื่อให้ได้รังไหมที่มีความเหมาะสมสำหรับใช้ทางการแพทย์  โดยนำองค์ความรู้ของจุฬาฯ และความเชี่ยวชาญของกรมหม่อนไหมเข้ามาช่วยในเรื่องของการขึ้นทะเบียนมาตรฐานต่างๆ และโครงการสร้างความยั่งยืนให้กับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมด้วยการพัฒนาสูตรอาหารสำหรับหนอนไหม

ด้านความพร้อมของจุฬาฯ ในโครงการความร่วมมือครั้งนี้ รศ.ดร.จุฑามาศ กล่าวว่าจุฬาฯ มีความพร้อมในการนำงานวิจัยไปสร้างเป็นรายได้กลับคืนมาสู่มหาวิทยาลัย โดยจุฬาฯ มีบริษัท Spin – off  ที่บ่มเพาะโดย CU innovation Hub และมีบริษัท Engine Life ภายใต้ CU Engineering Enterprise ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ช่วยให้การทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้น และสามารถทำงานวิจัยได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนของงานวิจัยเกี่ยวกับไหมไทยนั้น จุฬาฯ มีงานวิจัยเรื่องโปรตีนไหมที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการนำมาใช้รักษาโรคต่างๆ ความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับกรมหม่อนไหมในครั้งนี้จะมีการต่อยอดงานวิจัยเรื่องโปรตีนไหม โดยเน้นที่การนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  

“การเพิ่มคุณค่าไหมไทยโดยการนำผลผลิตจากเกษตรกรที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาพัฒนาเป็นวัสดุทางการแพทย์จะช่วยเพิ่มคุณค่าไหมไทยซึ่งเป็นมรดกของประเทศ และมีส่วนช่วยลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย” รศ.ดร.จุฑามาศ กล่าวทิ้งท้าย 

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า