รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 สิงหาคม 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
อาจารย์และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยในระดับนานาชาติ คว้าสองรางวัลใหญ่ Grand Prize และรางวัลต่างๆ รวม 22 รางวัล จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ งาน “12th World Invention Creativity Olympic 2023” (WICO 2023) จัดโดย Korea University Invention Association (KUIA) and World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) เมื่อวันที่ 27-29 กรกฎาคม 2566 ณ SETEC Convention Hall กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีผู้ส่งผลงานนวัตกรรมเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น 311 ผลงาน จาก 22 ประเทศ
ผลงานนวัตกรรมจากอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้
“OxyRock” เป็นนวัตกรรมที่นำเส้นพลาสติกที่ทำมาจากเศษพลาสติก (PLA) ที่เหลือทิ้งจากการปริ้นส์งาน 3D รวมกับทรายประกายมุกที่ผลิตจากเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้ง มาขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการแล้วเคลือบด้วยไทเทเนี่ยมที่ผสมกับทรายประกายมุกอีกครั้ง ทำให้รูปทรงดังกล่าวมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ ช่วยในการฟอกอากาศ
“SAS Smart Alert Sensor”เป็นนวัตกรรมช่วยชีวิตที่ออกแบบให้เป็นของตกแต่งบ้าน ภายในติดตั้งกล้องวงจรปิด และเซนเซอร์ขั้นสูงที่สามารถตรวจจับเหตุอันตราย ได้แก่ แผ่นดินไหว เพลิงไหม้ แก๊ซรั่ว ขโมย มลพิษทางอากาศ เช่น PM2.5 VOCs และมลพิษทางเสียง โดยข้อมูลจะแจ้งเตือนผ่านแอพบนสมาร์ตโฟนได้อัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ผลงานนวัตกรรมจากอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ยังสามารถคว้ารางวัลต่างๆ จากการประกวดครั้งนี้ได้แก่
ผลงาน “5-in-1 Page Turner” โดย ด.ญ.ปัณณภรณ์ ทองเจริญ ด.ญ.ณิชชา วิทูราภรณ์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ด.ญ.ณทักษพร อภิเกษมสันติ์ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ด.ญ.อลิสา ครามาเชค โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “Bike the Talk: Building a Cycling Society”
22 พ.ย. 67 เวลา 15.00 น.
ห้องสมุด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
CNN สัมภาษณ์อาจารย์จุฬาฯ เผยความสำเร็จงานวิจัยกลิ่นเหงื่อตรวจความเครียดและซึมเศร้า
พิธีเปิดโครงการ “สัปดาห์สุขภาพสตรี” CU Women’s Health Week ส่งเสริมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและสุขภาพสตรี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้