ข่าวสารจุฬาฯ

นิทรรศการ The 2018 Asian “Baby Carriers” International Touring Exhibition

แนวความคิด

สุภาษิตกล่าวว่า “พระเจ้าไม่ได้อยู่ทุกหนแห่ง ดังนั้นท่านจึงได้สร้างแม่ขึ้นมา” แม้แต่หญิงสาวผู้อ่อนแอจะได้รับความแข็งแกร่งและพลังอันมหาศาลที่สามารถทำให้แผ่นดินสะเทือนและภูเขาทลายเมื่อหญิงสาวได้กลายเป็นแม่ นับตั้งแต่เด็กได้เกิดมา “รอยยิ้ม” ของแม่สามารถปลอบประโลมให้ทารกไม่ร้องไห้และการกอดนั้นจะช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและอบอุ่น และไม่มีสถานที่ใดจะปลอดภัยกว่าความอบอุ่นที่มาจากอกของแม่ “เป้อุ้มเด็ก (A baby carrier)” คือผ้าผืนยาวที่ใช้ผูกเด็กเข้ากับตัวของแม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและความคุ้นเคยระหว่างเด็กและครอบครัว

National Museum Of Prehistory, Taiwan and Ministry of Culture, Taiwan, Office of Art and Culture, Chulalongkorn University และ Taipei Economic & Cultural Office in Thailand เป็นผู้จัดหลักนิทรรศการนานาชาติ “Baby Carriers” ซึ่งนิทรรศการนี้ได้จัดแสดงทั้งในไต้หวันและมีการจัดแสดงหมุนเวียนในต่างประเทศ โดยจะจัดแสดงอุปกรณ์ที่ใช้อุ้มเด็ก ห่อหุ้มเด็กและผ้าอุ้มเด็กในหลากหลายรูปแบบ ผสมผสานกันกับการเล่าเรื่องราวนับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และวิจัยทางโบราณคดีที่กล่าวถึงความสัมพันธ์กับการเลี้ยงดูและการดูแลเด็กในไต้หวัน นิทรรศการจะนำเสนอภาพรวมของวัฒนธรรมของผ้าอุ้มเด็กและการเลี้ยงดูเด็กของชาวหมิ่นหนาน (Minnan) ชาวฮากกา (Hakka) กลุ่มคนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนในไต้หวัน และครอบคลุมถึงประชากรในบริเวณรอบไต้หวัน อีกทั้ง นิทรรศการยังจัดแสดงผ้าอุ้มเด็ก รวมไปถึงสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ในการดูแลเด็กจากชนกลุ่มน้อยในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กลุ่มคนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนจากเกาะบอร์เนียว, บาหลี, ไซบีเรีย และกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียใต้ ซึ่งชนเผ่าต่างๆและกลุ่มคนได้มีการพัฒนาระบบและรูปแบบของผ้าอุ้มเด็กอันมีพื้นฐานที่มาจากวัฒนธรรมเฉพาะตัวของพื้นถิ่นนั้นๆ, วิถีชีวิต, สภาพอากาศ รวมไปถึงประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในการออกแบบผ้าอุ้มเด็กแต่ก็มีบางสิ่งที่เหมือนกัน คือ แนวคิดของการเลี้ยงดู, การให้ความสุขและการป้องกันอันตราย นอกจากนี้ยังมีความรักที่มีความเป็นอมตะและเป็นภาษาสากล

การจัดนิทรรศการนี้จะช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์และการร่วมมือกันทางด้านศิลปะ ระหว่างชุมชนวัฒนธรรม, สถาบันวิชาการและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งพยายามที่จะรวมองค์ประกอบทางวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมเข้ากับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ก่อให้เกิดงานศิลปะจัดวางร่วมสมัยและการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ของนิทรรศการเพื่อตระหนักถึงคุณค่าของมนุษยชาติ และเป็นการส่งเสริมสัมพันธ์ทางการทูตกับนานาชาติและทำให้นานาชาติได้ทราบถึงความหลากหลายของชาติพันธุ์และวัฒนธรรมในไต้หวัน

 

เปิดให้เข้าชมทุกวัน   จันทร์ – ศุกร์  เวลา 9.00 – 17.00น.
ปิดให้บริการวันเสาร์,อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า