รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 กันยายน 2561
ข่าวเด่น
20 กันยายน ของทุกปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนดให้เป็น “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ซึ่งจัดเป็นกิจกรรมประจำปีที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2543 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
“วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ในปีนี้จะเปิดม่านต้อนรับ“จุฬาฯในศตวรรษใหม่” โดย วงดนตรีพี่เก่า Old C.U. Band จะมาร่วมบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ที่ชาวจุฬาฯ ประพันธ์คำร้องถวาย อาทิ เพลง “Candlelight Blues” หรือ เพลง “แสงเทียน” ประพันธ์คำร้องโดย รศ.สดใส พันธุมโกมล เพลง “ไร้เดือน” ประพันธ์คำร้องท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เพลง “ไร้จันทร์” ประพันธ์คำร้องโดยนายอาจินต์ ปัญจพรรค์ รวมทั้งเพลงที่แต่งโดยชาวจุฬาฯทั้งหมด
นอกจากนี้ความพิเศษของการแสดงในปีนี้ คือ วง C.U. Band จะนำเพลงจากแผ่นเสียงที่รวมเพลงพิเศษในโอกาสที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาในปี 2510 ซึ่งบรรเลงโดยวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ ประกอบด้วยเพลงพระราชนิพนธ์ เพลงจากวงดนตรีสุนทราภรณ์และวงดนตรีคีตวัฒน์ มาบรรเลงใหม่ทั้งสิ้น 12 เพลง อาทิ เพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” “เพลินภูพิงค์” “เกาะในฝัน” “C.U.Polka” “ขวัญใจจุฬาฯ” เป็นต้น
งานวันทรงดนตรี เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2501 ณ หอประชุมจุฬาฯ ซึ่งเป็นปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาทรงดนตรีที่จุฬาฯ และยังได้พระราชทานข้อคิดแก่นิสิตจุฬาฯ อย่างไม่ถือพระองค์ สร้างบรรยากาศอันอบอุ่น ความเป็นกันเอง บรรยากาศแห่งความทรงจำในครั้งนั้นยังคงตราตรึงอยู่ในใจของนิสิตเก่าจุฬาฯ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
นายสันทัด ตัณฑนันทน์ นิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และครุศาสตร์ อดีตประธานชมรมดนตรีสากล จุฬาฯ และสมาชิกวงดนตรีพี่เก่า Old C.U. Band ย้อนความทรงจำเมื่อครั้งที่เคยร่วมเล่นดนตรีในวง อ.ส. วันศุกร์ว่า “ขณะนั้นผมดำรงตำแหน่งประธานชมรมดนตรีสากล จุฬาฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรีจากมหาวิทยาลัยต่างๆ สลับกันเข้าไปบรรเลงเพลงที่สถานีวิทยุ อ.ส. ทุกวันศุกร์ เมื่อถึงคิวนิสิตจุฬาฯ ก็พากันเข้าไปเล่นดนตรีตามปกติ แต่ในวันนั้นทรงมีรับสั่งว่า ‘วันนี้ ถ้าไม่มีธุระที่ไหน ก็ให้อยู่เล่นดนตรีด้วยกันก่อนนะ’ สร้างความปลื้มปีติแก่นิสิต จุฬาฯ ในวันนั้นเป็นอย่างมากที่มีโอกาสได้ร่วมเล่นดนตรีขณะที่พระองค์ท่านทรงดนตรีอยู่ด้วย เมื่อเล่นดนตรีจบ จึงทรงมีรับสั่งต่อพวกเราว่า ‘วันอังคารจะไปเล่นดนตรีที่จุฬา ฯ นะ’ ทำให้พวกเราตื่นเต้นดีใจเป็นอย่างมาก”
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯมาทรงดนตรีที่จุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2501 จนถึงปี 2516 เนื่องจากภายหลังทรงมีพระราชภารกิจมากขึ้น จนกระทั่งในปี 2543 จุฬาฯ จึงได้จัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี และจัดเป็นประจำต่อเนื่องตั้งแต่นั้นมา
“งานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีมีแฟนเพลงเหนียวแน่นจนถึงปัจจุบัน เพราะความคิดถึงบรรยากาศช่วงนั้น รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพวกเราอย่างหาที่สุดมิได้ คนที่ชมการแสดงส่วนใหญ่ไม่ใช่จะมีแต่คนที่สูงวัย แต่เริ่มจะเห็นว่ามีคนรุ่นใหม่ เช่น นิสิตจุฬาฯ และคนที่ชื่นชอบการบรรเลงดนตรีแบบเต็มวงมาร่วมชมการแสดงด้วย” อดีตประธานชมรมดนตรีสากล จุฬาฯ กล่าว
งาน“วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ปีนี้จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2561 เวลา 18.00 – 21.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ รวมทั้งมีการรวบรวมเงินสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลเช่นเดียวกับทุกปีที่ผ่านมา ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ โทร. 0-2218-3364-5 สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ โทร. 0-2218-7046 ต่อ 305
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้