รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 สิงหาคม 2566
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
คุณชาลิสา เตียนโพธิทอง Managing Director at The Fig Lobby, Bangkok และนิสิตเก่า MBA 2016 สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งนำความรู้ ที่เรียนมาสานฝันการทำธุรกิจโรงแรมด้วยการสร้าง Art Hotel และสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นด้วยแนวคิดในการสร้างความยั่งยืน
ด้วยใจรักในงานด้านโรงแรม คุณชาลิสาจึงมุ่งเรียนด้านการโรงแรมที่สวิตเซอร์แลนด์ และผ่านการฝึกงานในหลายแผนกจากหลายประเทศ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อการบริหารธุรกิจที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ และทำงานเกี่ยวกับ Consulting ด้านธุรกิจโรงแรมมาตลอดระยะเวลา 5 ปี หลังจากนั้นกลับมาช่วยธุรกิจของครอบครัวเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และได้มีโอกาสเข้ามาบริหารจัดการโครงการรีโนเวทอพาร์ทเม้นท์เก่าของที่บ้านให้กลายมาเป็นโรงแรม The Fig Lobby, Bangkok ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ โดยใช้เวลาในการรีโนเวท 3 ปี ซึ่งในช่วงเวลานั้นตรงกับช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงทำให้ใช้เวลานานเนื่องจากติดปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งวัสดุต่าง ๆ สำหรับการก่อสร้าง ซึ่งบางส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งในเรื่องของแรงงานก่อสร้างที่ต้องหยุดดำเนินการในขณะนั้น
“การรีโนเวทเราให้ความสำคัญในเรื่องของ Sustainability การทำธุรกิจแบบยั่งยืน โดยนำตึกเก่าของครอบครัวมารีโนเวทใหม่ โดยพยายามใช้โครงสร้างที่มีอยู่เดิม พื้นในแต่ละชั้นใช้ของเดิมแต่ขัดใหม่ให้ดูสวยงามขึ้น ห้องใช้โครงสร้างเดิมแต่ตกแต่งให้มีดีไซน์เฉพาะตัว นอกจากจะเป็นการประหยัดงบประมาณเรายังเน้นความคุ้มค่าของการใช้งานด้วย” คุณชาลิสา กล่าว
สำหรับหน้าที่ในการดูแล The Fig Lobby, Bangkok คุณชาลิสา กล่าวว่าเริ่มตั้งแต่การออกแบบ ดีไซน์ การตกแต่ง การก่อสร้าง การสร้างแบรนด์ การตลาด คิดกิจกรรมอีเว้นท์ต่าง ๆ ธีมของโรงแรมได้แรงบันดาลใจจากที่ตัวเองชอบในเรื่องของสีสันอยู่แล้ว นำความชอบมาผสมผสานกัน และอยากสร้างจุดเด่นเกี่ยวกับความเป็นไทยในการตกแต่งของโรงแรมแบบมีความผสมผสานทั้งศิลปะ สีสัน โดยออกแบบห้องพักให้มีความหลากหลายถึง 8 สไตล์ด้วยกัน สไตล์การตกแต่งเป็นแนว Funky Art Deco มีจำนวนห้องทั้งหมด 68 ห้อง โรงแรมแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนคลองเตย ซึ่งแต่เดิมจะไม่มีโรงแรมที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวหรือคนเดินทาง จึงเป็นแรงบันดาลใจอยากสร้างโรงแรมในพื้นที่ย่านนี้ เพื่อให้เป็นที่พักใหม่ ๆ เป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยพื้นที่โรงแรมอยู่ใกล้รถไฟฟ้า ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และใจกลางกรุงเทพฯ
คุณชาลิสา กล่าวถึงจุดเด่นของ The Fig Lobby, Bangkok ว่าอยากให้มีความเป็น Expressive Art Hotel รวมกับ Community Living ต้องการให้ผู้ที่มาพักได้ผ่อนคลาย มีกิจกรรมหลากหลายให้เลือก เหมือนมาบ้านเพื่อน บ้านญาติ อยากให้มีความแตกต่างจากไปพักที่อื่น ๆ เช่น ถ้าเป็นโรงแรมห้าดาวผู้ที่มาพักอาจรู้สึกเป็นทางการ สำหรับ The Fig Lobby, Bangkok เพิ่งเปิดตัวได้ 6 เดือน ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจองมาก่อนและเลือกสไตล์ห้องพักแบบที่ตัวเองชอบ ในขณะที่ลูกค้าเข้ามาพักก็จะได้เสพศิลปะ มีอาหารที่มีการผสมผสานของศิลปะการปรุงแต่ง นอกจากนี้พาร์ทเนอร์ที่เราเลือกเข้ามาเป็น คอมมูนิตี้ก็จะมีความเป็นศิลปะเข้ามาด้วย เช่น เป็นร้านเวิร์กชอปเกี่ยวกับการทำเครื่องปั้นดินเผา ยิมออกกำลังกายแบบปั่นจักรยาน สปาศาสตร์อินเดีย สิ่งที่ลูกค้าประทับใจเมื่อเข้ามาพักที่โรงแรม เริ่มจากเรื่องของดีไซน์ สีสัน การตกแต่ง รูปแบบห้องที่มีความหลากหลายเพื่อให้ตรงกับความชอบของลูกค้า และในเรื่องของพนักงานประมาณ 95 % ผู้เข้ามาพักหรือมาใช้บริการต่าง ๆ จะชมพนักงานเรื่องให้บริการลูกค้าเป็นกันเอง
“ตนเองโตมากับชุมชนคลองเตย ทราบดีว่าในมุมมองของคนกรุงเทพฯ หรือคนทั่วไป เมื่อได้ยินคำว่าชุมชนคลองเตย จะรู้สึกเป็นชุมชนแออัด ไม่มีความปลอดภัย จึงอยากสร้างมุมมองใหม่เกี่ยวกับชุมชนคลองเตย” เป้าหมายการรีโนเวทโรงแรมแห่งนี้นอกจากจะเป็นเรื่องของธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่เดิมให้มีรายได้เข้ามาแล้ว ยังต้องการมีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนพื้นที่ในชุมชนคลองเตยให้มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านสังคม ความน่าอยู่ ความปลอดภัย และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนด้วย มีร้านอาหารอร่อยที่อยู่ในชุมชนนี้ มีวัดที่สวยงาม และใกล้กับท่าเรือแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถข้ามฝั่งไปบางกระเจ้าได้ไม่ไกลมาก” คุณชาลิสา กล่าว
คุณชาลิสาต้องการให้ย่านนี้มีโรงแรมที่เป็น Community Living ที่ใคร ๆ ก็เข้ามาทำกิจกรรมได้ และเดินทางสะดวก และนำรายได้เข้าสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน เช่น การจ้างพนักงานที่มาจากคนในชุมชนจำนวนหนึ่ง เป็นการสนับสนุนการทำงานของคนในพื้นที่ เมื่อโรงแรมมีกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะสนับสนุนร้านอาหารในย่านนี้ และเรายังจัดกิจกรรมให้คนในพื้นที่สามารถเข้ามาร่วมกิจกรรมได้ นอกจากนี้อาหารสำหรับพนักงานก็สนับสนุนจากร้านในพื้นที่ เมื่อมีนักท่องเที่ยวถามถึงร้านอาหารจะแนะนำร้านอาหารในย่านนี้ เพื่อเป็นการแนะนำร้านที่อร่อยแต่ยังไม่มีคนรู้จัก ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนในย่านนี้ นอกจากนี้การตกแต่งโรงแรมยังใช้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศ รวมทั้งเครื่องดื่มและอาหารว่างต่าง ๆ เราคัดสรรจากชุมชนท้องถิ่นในหลายจังหวัดของประเทศไทย เพื่อเป็นการสนับสนุนรายได้ และเป็นการแนะนำสินค้าภูมิปัญญาชาวบ้านให้กับผู้ที่มาพักทั้งชาวไทยและต่างชาติอีกด้วย นอกจากลูกค้าเข้ามาพัก หรือมาทำกิจกรรมอื่น ๆ ในคอมมูนิตี้ที่มีอยู่แล้ว ยังมีกิจกรรมการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ จัดงานวันเกิด จัดงานแต่งงาน โรงแรมมีขนาดไม่ใหญ่มาก บางกิจกรรมเช่นการจัดงานแต่งงาน บางครั้งลูกค้าจะเหมาทั้งโรงแรม จึงสะดวกสำหรับผู้มาพัก คนไม่มากจนเกินไป สำหรับลูกค้าที่เป็นคนไทยจะมากในวันเสาร์และอาทิตย์ ส่วนใหญ่จะมานั่งเล่น มาทานอาหารหรือมาทำกิจกรรมต่าง ๆ
“คนที่จะเริ่มทำธุรกิจ ต้องเริ่มจากความชอบก่อนจะเป็นแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งนั้น การทำธุรกิจต้องหาผู้ร่วมงานที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ เริ่มจากเลือกพนักงานที่มีแนวคิดเดียวกัน การสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานมีทัศนคนติที่ดี การทำธุรกิจโรงแรมนี้ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจหลายแห่ง ที่ชอบในเรื่องการออกแบบและการตกแต่ง เราจึงมีความคิดว่าในอนาคตจะขยายไปเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นหุ้นส่วนของธุรกิจที่ชอบทางด้านการตกแต่งและศิลปะ” คุณชาลิสา ให้คำแนะนำ คุณชาลิสากล่าวถึงการเรียน MBA ที่ศศินทร์ว่า สามารถนำความรู้มาใช้ได้ทั้งทางด้านธุรกิจและการใช้ชีวิตส่วนตัว เพื่อนที่เรียนด้วยกันมาจากหลากหลายธุรกิจ ทำให้ได้เรียนรู้ในธุรกิจอื่น ๆ ที่เราไม่เคยทำมาก่อน และศศินทร์มีคอนเนคชั่นที่ดีทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องคอยให้คำแนะนำและการช่วยเหลือในการทำงาน
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “Bike the Talk: Building a Cycling Society”
22 พ.ย. 67 เวลา 15.00 น.
ห้องสมุด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
CNN สัมภาษณ์อาจารย์จุฬาฯ เผยความสำเร็จงานวิจัยกลิ่นเหงื่อตรวจความเครียดและซึมเศร้า
พิธีเปิดโครงการ “สัปดาห์สุขภาพสตรี” CU Women’s Health Week ส่งเสริมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและสุขภาพสตรี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้