ข่าวสารจุฬาฯ

นักวิจัยจุฬาฯ รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม ซี โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว โดย รศ.ดร.ศุภฤกษ์ ประเสริฐธรรม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566  จากการคิดค้นและพัฒนางานวิจัย “วิศวกรรมการเร่งปฏิกิริยาเชิงคำนวณเพื่อการคัดกรองตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์และสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยใหม่ในภาคการศึกษาขั้นสูงและอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก”  โดยมี นางสาวบงกช หงสะพัก ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมคุณภาพและเผยแพร่งานวิจัย สำนักบริหารวิจัย  เป็นตัวแทนมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.ศุภฤกษ์ ประเสริฐธรรม นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปีนี้

          ผลงานวิจัย“วิศวกรรมการเร่งปฏิกิริยาเชิงคำนวณเพื่อการคัดกรองตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์และสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยใหม่ในภาคการศึกษาขั้นสูงและอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก” มีจุดมุ่งหมายหลักในการทำความเข้าใจปรากฎการณ์การเร่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบนตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดวิวิธพันธุ์ (Heterogeneous Catalysts) ซึ่งเป็นชนิดหลักในภาคอุตสาหกรรม ให้มีความว่องไว มีเสถียรภาพและการเลือกเกิดจำเพาะที่สูงขึ้น โดยสร้างฐานข้อมูลสาธารณะของตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถใช้ต่อยอดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งความรู้นี้จะช่วยลดช่องว่างในการวิจัยที่เกิดจากความไม่พร้อมของเครื่องมือทำวิจัยในต่างมหาวิทยาลัย รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กได้ริเริ่มโครงการวิจัยได้โดยไม่ต้องลงทุนเป็นจำนวนมาก

รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เข้าสู่ปีที่ 41 ภายในงานแถลงข่าวได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีและมอบโล่รางวัล โดย รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2566 ได้แก่ ศ.ดร.วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566 มีผู้ได้รับรางวัล 3 ท่าน ได้แก่ อาจารย์นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า