รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 สิงหาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
“ผู้สูงวัย” มักประสบปัญหาทางด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น การดูแลผู้สูงวัยให้ห่างไกลโรคจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงวัยในบ้านพักคนชราซึ่งไม่ได้อยู่ในความดูแลของลูกหลานและคนในครอบครัวอย่างใกล้ชิด อาจมีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้ หนึ่งในนั้นคือโรคทางด้านทางเดินปัสสาวะ
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิวัยวัฒนานิวาส สถานสงเคราะห์คนชรา จ.สมุทรปราการ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายบ้าน จ.สมุทรปราการ จัดโครงการตรวจปัสสาวะผู้สูงวัยในบ้านพักคนชรา ณ มูลนิธิวัยวัฒนานิวาส สถานสงเคราะห์คนชรา จ.สมุทรปราการ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ในการลงพื้นที่ไปให้บริการแก่ประชาชนและสังคม นอกเหนือจากพันธกิจในด้านการเรียนการสอน และการวิจัย
ผศ.ดร.ทนพ.สุทธิภัทร ศรีสุธรรม คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการตรวจปัสสาวะในบ้านพักคนชรา กล่าวถึงที่มาของโครงการตรวจปัสสาวะผู้สูงวัยในบ้านพักคนชรา ว่าเนื่องจากประเทศไทย เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ในขณะที่ผู้สูงวัยบางส่วนไม่มีโอกาสเข้าถึงการตรวจสุขภาพอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ทางภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งมีภารกิจหลักในการรับผิดชอบงานการเรียนการสอนและงานวิจัยในหลักสูตรสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ จึงได้ร่วมกับมูลนิธิวัยวัฒนานิวาส และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายบ้าน จ.สมุทรปราการจัดโครงการนี้ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงวัยในบ้านพักคนชราที่ไม่ได้รับการเข้าถึงของการตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพเพื่อนำไปสู่การรักษาและเฝ้าระวังโรค พร้อมให้บริการความรู้เชิงวิชาการแก่ผู้สูงวัย โครงการนี้เป็นการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนของนิสิตเทคนิคการแพทย์ เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางวิชาชีพ รวมทั้งปลูกฝังจริยธรรมให้กับนิสิตอีกด้วย โดยมีนิสิตเทคนิคการแพทย์เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 96 คน คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ เข้าร่วมจำนวน 10 คน
ขั้นตอนการบริการตรวจปัสสาวะผู้สูงวัย
ผศ.ดร.ทนพ.สุทธิภัทร เผยถึงขั้นตอนการดำเนินการว่า แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การเตรียมงาน การเข้าไปตรวจ และการตรวจวิเคราะห์ โดยในวันให้บริการ ได้นำปัสสาวะจากผู้สูงอายุที่บรรจุอยู่ในกระปุกนำมาตรวจที่คณะสหเวชศาสตร์ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะอัตโนมัติ เมื่อผลตรวจปัสสาวะออกมาแล้ว ทางคณะฯ จึงได้แจ้งผลการตรวจแก่ผู้สูงอายุ พร้อมแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพ จากนั้นเมื่อครบ 3 เดือน ก็มีการตรวจปัสสาวะอีกครั้งว่าผลการตรวจมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
ผลการตรวจปัสสาวะผู้สูงอายุที่มูลนิธิวัยวัฒนานิวาส สถานสงเคราะห์คนชรา จ.สมุทรปราการ
โครงการนี้มีผู้สูงวัยในสถานสงเคราะห์คนชราและเจ้าหน้าที่ได้รับบริการตรวจปัสสาวะจำนวนทั้งสิ้น 62 คน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการกลั้นปัสสาวะและดื่มน้ำน้อย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ผลตรวจปัสสาวะยังบ่งบอกสภาวะของโรคประจำตัวที่ผู้อายุมีอยู่ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต
“ผลการดำเนินโครงการเป็นไปด้วยดี ผู้สูงวัยในบ้านพักคนชราดีใจมากที่มีนิสิตอาสาสมัครและคณาจารย์มาตรวจสุขภาพ นอกจากจะได้รับการตรวจปัสสาวะแล้ว ยังมีเพื่อนคุยแก้เหงาอีกด้วย และอยากให้ทางคณะเข้ามาตรวจปัสสาวะอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี โดยให้มีการตรวจอย่างอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือด” ผศ.ดร.ทนพ.สุทธิภัทร กล่าว
ประโยชน์ที่ผู้ร่วมโครงการได้รับ
โครงการให้บริการตรวจปัสสาวะแก่ผู้สูงวัยในครั้งนี้ ทำให้ผู้สูงวัยในบ้านพักคนชราได้รู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพ การปฏิบัติตัว การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วย หรือหากมีอาการเจ็บป่วยก็ไม่รุนแรง ในส่วนของคณาจารย์คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ก็ได้นำความรู้วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ไปใช้ประโยชน์ในการให้บริการ เช่นเดียวกับนิสิตก็ได้นำองค์ความรู้มาใช้จริงในการให้บริการแก่สังคม รวมถึงเพิ่มพูนความมีจิตอาสา มีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือสังคม “โครงการนี้ได้รับผลการประเมินจากผู้สูงอายุและนิสิตที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับดีมาก โครงการนี้จะมีต่อไปในอนาคต และยินดีเป็นอย่างยิ่งหากมีผู้สนใจเข้ามาร่วมสนับสนุนโครงการ” ผศ.ดร.ทนพ.สุทธิภัทร กล่างทิ้งท้าย
จุฬาฯ จัดงานเลี้ยงรับรองผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการประชุมสามัญ ทปอ. ครั้งที่ 1/2568
อบรมเชิงปฏิบัติการ “S.M.A.R.T Communication: พัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างผลลัพธ์และบรรยากาศที่ดี”
ขอเชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาคณาจารย์ จุฬาฯ พ.ศ. 2568
3-10 มี.ค. 2568
ขอเชิญร่วมงาน “วันอ้วนโลก“ World Obesity Day 2025 “อ้วนแล้วเปลี่ยน… เริ่มวันนี้ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” 1 มีนาคม 2568 ณ ชั้น 9 อาคาร SiamScape
1 มีนาคม 2568 เวลา 09.30-15.00 น. ชั้น 9 อาคาร SiamScape
จุฬาฯ ร่วมเปิดงาน “เทศกาลบางแสนเพลิน” กิจกรรมสร้างสรรค์จากงานวิจัยสู่ชุมชน
พิธีบวงสรวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่จุฬาฯ อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นประดิษฐาน ณ โถงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้