ข่าวสารจุฬาฯ

สัมมนาระดับภูมิภาคอาเซียนเรื่อง “การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุจากมุมมองของความเท่าเทียมทางเพศผ่านกลยุทธ์และนวัตกรรมระหว่างรุ่นเพื่อทุกคนในสังคมสูงวัย”

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสำนักงานเลขาธิการอาเซียนร่วมกับเครือข่ายอาเซียนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จัดสัมมนาระดับภูมิภาคอาเซียนเรื่อง “การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุจากมุมมองของความเท่าเทียมทางเพศผ่านกลยุทธ์และนวัตกรรมระหว่างรุ่นเพื่อทุกคนในสังคมสูงวัย” (Economic Empowerment of Older Persons from the Perspective of Gender Equality via Intergenerational Strategies and Innovations for All in an Ageing Society) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566

เพื่อแบ่งปันและส่งเสริมการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุผ่านแนวทางและนวัตกรรมต่างวัยในสังคมสูงวัย โดยเน้นความเท่าเทียมทางเพศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพระหว่างประเทศอาเซียน+3 และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะสำหรับประเทศอาเซียน +3 เพื่อส่งเสริมการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุผ่านแนวทางระหว่างรุ่นและนวัตกรรมในสังคมสูงวัย โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ กล่าวต้อนรับ และ น.ส.แรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เป็นผู้กล่าวเปิดการสัมมนา มีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น 85 คน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom)

ผู้ร่วมสัมมนาจากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วย รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ รองคณบดี อ.ดร.นพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์ อ.ดร. ชฏาธาร โอษธีศ  และ อ.ดร.ชลธิชา อัศวนิรันดร ร่วมด้วยผู้แทนจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมตัวแทนเครือข่ายอาเซียนทั้งในประเทศไทย อาทิ  ตัวแทนกลุ่มนายจ้าง ได้แก่ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย  สภาองค์การนายจ้างแห่งอาเซียน (Asean Conferderation of Employers: ACE)  ตัวแทนกลุ่มลูกจ้าง ได้แก่ องค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอุตสาหกรรมเอกชน สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สภาสหภาพแรงงานอาเซียน (ASEAN Trade Union Council: ATUC) ตัวแทนกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ได้แก่ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ สภาสหภาพอาเซียน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), Alliance on Longevity In Asia- Pacific (AL-AP) และ Help Age International ตัวแทนกลุ่มการศึกษาและภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย โครงการจุฬาอารี-ไทยอารี หน่วยปฏิบัติการเพื่อการวิจัยแรงงานและประสานงานด้านแรงงาน (CU-COLLAR) และ Global Labour Organization (GLO)  

ภายในงานมีกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ

  • Keynote speech:
  • Challenges and Opportunities of Intergenerational Strategies and Innovations for All in an Aging Society: Fourth Review and Appraisal of the Madrid International Plan of Action on Ageing” โดย Ms. Sabine Henning, Chief of the Sustainable Demographic Transition Section, Social Development Division, United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP)
  • Keynote: Promoting Economic Empowerment of Older Persons for an Inclusive Society: Case studies” โดย Dr. Rintaro Mori, Regional Advisor on Population Ageing and Sustainable Development at UNFPA Asia-Pacific Office (UNFPA)
  • Keynote: Older Persons and opportunities for economic empowerment in ASEAN+3” โดย Mr. Miguel Musngi Assistant Director & Head of the Poverty Eradication and Gender Division, Human Development Directorate, ASEAN Socio-Cultural Community Department, ASEAN Secretariat
  • Creating Inclusive Employment Opportunities for Older Persons: Best Practices and Future Strategies โดยมี รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ผู้เข้าร่วมอภิปรายได้แก่

(1) ตัวแทนจาก ASEAN Confederation of Employers (ACE)’s โดย Ms. Khine Khine Nwe (Rosaline), Secretary General of Republic of the Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry (UMFCCI), and Trustee on the Board of ASEAN CSR Network)

(2) ตัวแทนจาก ASEAN Trade Union Council (ATUC)’s Representative ได้แก่ Mr. Ruben D. Torres, General Secretary of the ATUC, and Vice President for International Relations of the National Trade Union Centre of the Philippines

(3) ตัวแทนจาก Alliance on Longevity in Asia- Pacific (ALAP)’s Representative: ได้แก่ Ms. Susana Harding, ALAP Secretariat; Senior Director, International Longevity Centre Singapore, Tsao Foundation

(4) ตัวแทนจาก HelpAge International’s Representative ได้แก่ Mr. Eduardo Klien, Lead Regional Representative &Asia Pacific Regional Representative

กลุ่มที่ 1 เรื่อง Full and productive employment & Social protection นำโดย นางฐาปณีย์ อินทรทัต นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ น.ส.ปสุตา นุชนิตย์ เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ.ดร.นพวรรณ พจน์  พิศุทธิพงศ์ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ

กลุ่มที่ 2 เรื่อง Rights at work & Social dialogue นำโดย น.ส.ธนัชพร ชลนภากุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ น.ส.ศิริพร กุฎีรัตน์ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ น.ส.ศิริพร กุฎีรัตน์ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ และ อ.ดร.ชฏาธาร โอษธีศ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ

กลุ่มที่ 3 เรื่อง Effective regional planning and coordination mechanisms นำโดย น.ส.ชยาภรณ์ ท่าตะเคียน นักพัฒนาสังคมชำนาญการ กรมกิจการผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  นายปณิธาน พรไพบูลย์ ช่วยปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์  กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ อ.ดร.ชลธิชา อัศวนิรันดร วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ

การสัมมนาครั้งนี้พบข้อสรุปที่เป็นประเด็นในเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ในการผลักดันด้านนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อไป รวมทั้งมีการนำเสนอโครงการตัวอย่างจากประเทศต่างๆ ในกรณีประเทศไทยได้กล่าวถึงกรณีศึกษา เช่น โครงการจุฬาอารี-ไทยอารี และโครงการนวัตกรรมเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้กับแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุสำรองและสูงอายุ โดยการส่งเสริมเศรษฐกิจสมานฉันท์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เป็นต้น โดย ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมงาน และปิดการสัมมนาในครั้งนี้

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า