รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 กันยายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาหัวข้อ “ความท้าทายของการสร้างมาตรฐานจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัย” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ และ Zoom Meeting โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย จุฬาฯ กล่าวเปิดงานเสวนา เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจต่อกระบวนการทำวิจัยที่นักวิจัยอาจจะละเมิดจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัยโดยไม่รู้เท่าทัน ซึ่งนับเป็นความท้าทายของนักวิจัยที่ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการทำวิจัยมากขึ้น
วิทยากรในงานเสวนาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มากด้วยประสบการณ์มาร่วมพูดคุยและบรรยายให้ความกระจ่างต่อประเด็นดังกล่าว ได้แก่ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ อดีตอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ประธานคณะกรรมการจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัย และรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ รศ.ดร.วิราภรณ์ โพธิศิริ อาจารย์วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตพร จากภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
ประเด็นหลักที่ถูกหยิบยกนำมาเสวนาในครั้งนี้ เป็นประเด็นเรื่องการซื้อขายงานวิชาการ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการกล่าวถึง “การละเมิดจริยธรรม” และการใช้ประโยชน์จาก Chat GPT ที่เป็นเครื่องมือในการช่วยแนะนำข้อมูลสำหรับการวิจัยที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการงานวิจัย โดยวิทยากรให้ข้อคิดถึงขอบเขตการนำมาใช้งานและการคำนึงถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพเป็นหลัก เพื่อรักษามาตรฐานงานวิจัยและสร้างความน่าเชื่อถือ รวมถึงวิธีการเก็บหลักฐานและข้อมูลวิจัยในรูปแบบ “Lab Notebook” เพื่อสร้างหลักฐานการวิจัยที่มีคุณภาพสามารถตรวจสอบได้
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “Bike the Talk: Building a Cycling Society”
22 พ.ย. 67 เวลา 15.00 น.
ห้องสมุด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
CNN สัมภาษณ์อาจารย์จุฬาฯ เผยความสำเร็จงานวิจัยกลิ่นเหงื่อตรวจความเครียดและซึมเศร้า
พิธีเปิดโครงการ “สัปดาห์สุขภาพสตรี” CU Women’s Health Week ส่งเสริมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและสุขภาพสตรี
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้