รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 กันยายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ จัดโครงการสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนและนิสิตเก่าสัมพันธ์ ภาคเหนือ กิจกรรม “จุฬาฯ ม่วนใจ๋เชียงใหม่” ระหว่างวันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2566 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างและกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างจุฬาฯ สื่อมวลชน และนิสิตเก่าจุฬาฯ ภาคเหนือ เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน และเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมจุฬาฯ สู่การพัฒนาสังคมไทยและสังคมโลก เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจในภาพลักษณ์ของแบรนด์จุฬาฯ ที่พร้อมเป็นผู้นำความรู้และนวัตกรรมในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม มีสื่อมวลชนจากสำนักต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศจำนวน 30 คน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาฯ และนิสิตเก่าจุฬาฯ ภาคเหนือเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้
กิจกรรม “จุฬาฯ ม่วนใจ๋เชียงใหม่” เริ่มต้นที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ภาคเหนือ จ. เชียงใหม่ เมื่อวันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 โดยมี ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี ด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม จุฬาฯ และ ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาฯ กล่าวต้อนรับและเปิดงาน จากนั้นเป็นกิจกรรม Brief Talk: Chula Sustainovation โมเดลการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน โดย ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาฯ การกล่าวต้อนรับและ Brunch Talk: บทบาทชาวจุฬาฯ กับการพัฒนาเชียงใหม่ โดยคุณจารุวัตร เตชะวุฒิ นายกสมาคมนิสิตเก่า จุฬาฯ ภาคเหนือ จากนั้นเป็นกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชน นิสิตเก่า และทีมจุฬาฯ สร้างความสนุกสนานและประทับใจแก่นิสิตเก่าจุฬาฯ และสื่อมวลชนที่ร่วมโครงการเป็นอย่างยิ่ง
วันที่สองของกิจกรรม “จุฬาฯ ม่วนใจ๋เชียงใหม่” ได้นำสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาศิลาดล ณ สยามศิลาดล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดยมีคุณนิตย์ วังวิวัฒน์ นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคุณเพ็ญพรรณ วังวิวัฒน์ เจ้าของสยามศิลาดล และไร่ชาระมิงค์ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ในโอกาสนี้ คุณอนุสิทธิ์ มานิตยกูล ผู้จัดการการตลาดต่างประเทศ สยามศิลาดล ได้บรรยายสรุปและนำชมกระบวนการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาศิลาดล ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมแบบ Green Product โดยใช้ดินดำจากเชียงใหม่เป็นวัตถุดิบหลัก และยังคงกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน มีการใช้โมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG (Bio-Circular-Green) เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมทั้งตัวโรงงานยังเป็น Green Factory นอกจากนี้สื่อมวลชนได้ร่วมกิจกรรม Workshop: Celadon Hand Painting สร้างสรรค์งานศิลปะบนจานด้วยฝีมือของตนเองอีกด้วย
ในช่วงบ่าย สื่อมวลชนได้ไปนมัสการพระ ณ วัดป่าดาราภิรมย์ และไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมวันพุธ – วันอาทิตย์
กิจกรรม “จุฬาฯ ม่วนใจ๋ทริป” ยังนำสื่อมวลชนไปไหว้พระที่วัดอุโมงค์ วัดพระธาตุดอยคำ วัดเจดีย์หลวง และวัดศรีสุพรรณ รวมทั้งจัดกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชน และชาวจุฬาฯ ที่ใบออร์คิด-บัตเตอร์ฟลายฟาร์ม สร้างความสนุกสนานชื่นมื่นกันถ้วนหน้า วันสุดท้ายของโครงการมีการกล่าวสรุปและปิดงานโดย ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาฯ และคุณธาริณี ไชยประพาฬ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ พร้อมมอบรางวัลแก่สื่อมวลชนที่ชนะการประกวดถ่ายภาพคู่เซลฟี่ และมอบภาพถ่ายที่ระลึกถึงช่วงเวลาแห่งความประทับใจใน “จุฬาฯ ม่วนใจ๋ทริป” กิจกรรมที่ได้ทั้งความรู้ ความสุขสนุกสนาน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของสื่อมวลชนและชาวจุฬาฯ ที่ร่วมโครงการ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้