รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 กันยายน 2561
ข่าวเด่น
งานรับปริญญาเป็นงานที่มีคนมาร่วมแสดงความยินดีกับเหล่าบัณฑิตเป็นจำนวนมาก เรียกว่าเป็น “ครั้งหนึ่งในชีวิต” ที่หลายๆ คนภาคภูมิใจและในทุกๆ ครั้ง คนที่มาร่วมแสดงความยินดีมักจะมีของติดไม้ติดมือมาด้วยเสมอ โดยของขวัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือช่อดอกไม้ ตุ๊กตาหมีและของประดับต่างๆ เช่น สายสะพาย มงกุฎดอกไม้ที่หาซื้อได้ตามหน้างาน ซึ่งน้อยคนที่จะรู้ว่าหลังจบงานของเหล่านั้นกลายเป็นขยะจำนวนมาก จะดีกว่านี้ไหม? ถ้าหากเราหันมาแสงความยินดีร่วมกับบัณฑิตด้วยการให้ของขวัญอย่างสร้างสรรค์
แคมเปญ #NoGift ต้องการให้ทุกคนเข้าใจถึง “คุณค่าที่แท้จริง” ของงานรับปริญญา รวมถึงการให้ของขวัญที่คุ้มค่า ไม่สิ้นเปลือง โดยเริ่มจากตัวบัณฑิตเอง แล้วขยายไปถึงคนรอบข้าง ทั้งครอบครัว ญาติและเพื่อนบัณฑิต การให้ของขวัญที่สร้างสรรค์จากใจ นอกจากจะสร้างความประทับใจดีๆ ร่วมกันแล้ว บัณฑิตยังสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย “เพราะใจ… คือของขวัญที่ดีที่สุด”
ณัฏฐ์ ไตรภูมิ หรือ ปอนด์ บัณฑิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และประธานคณะกรรมการบัณฑิตจุฬาฯ (กบจ.) ปีการศึกษา 2560 ได้แบ่งปันไอเดียการให้ของขวัญที่น่าสนใจและเข้ากับยุคสมัยว่า “เมื่อเรากำลังก้าวสู่ยุคนวัตกรรม ก็น่าจะลองแสดงความยินดีผ่านเทคโนโลยี ผ่านแอพลิเคชั่นแทนการให้ของขวัญเป็นชิ้น ซึ่งทำได้ง่าย ต้นทุนไม่สูง โดยในอนาคตมีแนวคิดที่จะพัฒนาโปรแกรมใส่ไว้ใน CU NEX เพื่อรองรับตรงนี้”
ได้ฟังไอเดียจากพี่บัณฑิตกันแล้ว ต่อไปเราลองมาดูไอเดียของขวัญสำหรับพี่บัณฑิต ของรุ่นน้องกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง
“ควรจะเป็นของที่ผู้รับนำไปใช้ได้และสามารถนำไปใช้งานบ่อยๆ เช่น ปากกา เครื่องเขียน เมาส์ หูฟัง อุปกรณ์ออฟฟิศ เป็นความคุ้มค่าทางจิตใจของผู้ให้ด้วยเช่นกัน”
ณรงค์ธร ศิริโรจน์สกุลชัย นิสิตปี 3 คณะวิทยาศาสตร์
“แทนช่อดอกไม้ เราอาจให้เป็นเมล็ดดอกไม้ไปดูแลต่อ หรือบัณฑิตอาจบอกคนที่มาแสดงความยินดีล่วงหน้าว่า ไม่ต้องเตรียมของมาให้ แต่ขอรับเป็นเงินบริจาค เช่น ให้น้องหมาน้องแมวก็ได้”
ณิชา เวชพานิช นิสิตปี 4 คณะอักษรศาสตร์ สมาชิกชมรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม
“ของขวัญวันรับปริญญาควรเป็นของ handmade ที่เราประดิษฐ์ขึ้นเอง เช่น การ์ดต่างๆ เพราะมีคุณค่าทางจิตใจ เราสามารถตกแต่งของให้เหมาะกับผู้รับ ทำให้รู้สึกประทับใจเป็นพิเศษ แถมยังราคาไม่แพงและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย”
มาวีร์ รอบบรรเจิด นิสิตปี 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
“ให้ปากกาเป็นของขวัญวันรับปริญญาที่คุ้มค่าและประหยัดค่ะ เพราะปากกาเป็นสัญลักษณ์ของการทำงาน และยังสื่อถึงการอวยพรให้ก้าวหน้าอีกด้วย บัณฑิตที่ได้รับปากกาก็ได้รับสิ่งที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้ และสามารถทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้ค่ะ”
นริสศรา คลังแสง เลขานุการฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ อบจ.
“ของขวัญในวันรับปริญญาควรเป็นของที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตการทำงาน ที่สำคัญคือของขวัญนั้นจะต้องแสดงถึงความใส่ใจของผู้ให้ เพียงแค่นี้ก็ทำให้ผู้รับดีใจและรับรู้ถึงความใส่ใจจากผู้ให้แล้ว”
ภูรินท์ เทพสถิตย์ นิสิตปี 5 คณะครุศาสตร์
“ให้การ์ด DIY เป็นของขวัญวันรับปริญญาที่ไม่ฟุ่มเฟือย เพราะมีความแปลกใหม่ สร้างสรรค์ ไม่ซ้ำใคร เป็นการ์ดที่ทำด้วยความตั้งใจ ทำให้ผู้รับรู้สึกว่าเป็นของขวัญที่พิเศษและมีคุณค่าทางจิตใจ”
จุฑามาส ยังหัตถี นิสิตปี 4 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
เรียกได้ว่า ‘จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ ได้ตระหนักถึงปัญหาและเริ่มมีการรณรงค์การเปลี่ยนพฤติกรรมการให้ของขวัญในงานรับปริญญาในปีนี้เป็นปีแรก โดยแคมเปญนี้นอกจากจะช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสอดคล้องเข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
เห็นอย่างนี้แล้ว เราหันมาให้ความสำคัญกับการเลือก ‘ของขวัญ’ สำหรับการแสดงความยินดีในงานรับปริญญากันดีกว่า เพื่อเป็นการเริ่มต้นการสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความจริงใจและความทรงจำพิเศษร่วมกันในรูปแบบที่ไม่สร้าง ‘ขยะ’ เหมือนกับประโยคที่ว่า ‘เพราะใจ…คือของขวัญที่ดีที่สุด’
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้