รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 กันยายน 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
20 กันยายน 2566 เวลา 18.00 – 20.00 น.
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญร่วมงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ในวันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 18.00 – 20.00 น. ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ปีนี้ วงดนตรี CU Band วงดนตรีพี่เก่า OCU Band และวงดนตรี CU Chorus ขับขานบทเพลงพระราชนิพนธ์ทรงคุณค่าในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระราชนิพนธ์ในช่วงปี 2501-2516
บทเพลงพระราชนิพนธ์และบทเพลงไพเราะที่จะนำมาขับขานในงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีปีนี้
วง CU Band – เพลง แสงเดือน เพลินภูพิงค์ มาร์ชราชนาวิกโยธิน ภิรมย์รัก Nature Waltz, The Hunter, Kinari Waltz แผ่นดินของเรา พระมหามงคล ยูงทอง เกษตรศาสตร์ (ร่วมกับวง CU Chorus)
วง CU Chorus – เพลง ร่มจามจุรี เกียรติภูมิจุฬาฯ
วง OCU Band – เพลง ในดวงใจนิรันดร์ Still on my mind เพลงเตือนใจ Old-fashioned melody ไร้เดือน No moon เกาะในฝัน Dream island แว่ว Echo ความฝันอันสูงสุด เราสู้
ผู้สนใจเข้าชมฟรี โดยไม่ต้องลงทะเบียน และขอเชิญร่วมบริจาคสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดล โดยบริจาคผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชี “สมทบทุนอานันทมหิดล วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” บัญชีเลขที่ 045-2-98139-9 หรือสแกน QR Code
สถานที่จอดรถ: อาคารจอดรถ 2 ติดกับอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ (15 บาท/ชั่วโมง)https://goo.gl/maps/iaUdetUJY472
หมายเหตุ : ผู้บริจาคที่ต้องการขอใบเสร็จรับเงิน จะต้องกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มร่วมบริจาคเงินสมทบทุนอานันทมหิดล https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdvV9noinhZptfs7fTlvdwZQVr0EjlWzme_b0Cmh9ucOMvOeA/viewform หรือสแกนคิวอาร์โค้ด ภายใน 1 เดือน นับจากวันที่เงินเข้าบัญชีรับเงินบริจาค สำนักบริหารกิจการนิสิตจะดำเนินการส่งใบเสร็จรับเงินให้ผู้บริจาคทางไปรษณีย์ภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ได้รับข้อมูลบริจาค สามารถสอบถามข้อมูลการบริจาคเพิ่มเติมได้ที่ คุณเจียรนัย โทร.0-2218-7373
“วันทรงดนตรี” เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่คณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ที่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ที่ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิสิตจุฬาฯ เข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2500 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร ต่อมาได้รับสั่งกับนายสันทัด ตัณฑนันทน์ หัวหน้าวงดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาฯ สมัยนั้น ว่าจะนำวงลายครามมาบรรเลงที่จุฬาฯ งานวันทรงดนตรีที่จุฬาฯ จึงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2501
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ มาทรงดนตรีที่จุฬาฯ ระหว่างปี 2501 – 2516 เนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจเพิ่มขึ้นจึงไม่ได้เสด็จฯมาทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยอีก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีในวันที่ 20 กันยายนของทุกปีโดยกำหนดไว้ในปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จฯ มาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Line Official วันที่ระลึกวันทรงดนตรี @240wuccmสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ โทร. 0-2218-7041ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ โทร. 0-2218-3364-6หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : CU Band
ดาวน์โหลดสูจิบัตรงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี ได้ที่ QR Code ด้านล่างนี้
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้