ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พัฒนากิจกรรม หลักสูตร รายวิชาศึกษาทั่วไปเกี่ยวกับความรู้ด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมกันออกแบบกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาหลักสูตรและการจัดอบรมองค์ความรู้ด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วนให้มีความรู้และความสามารถรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนทางวิชาการ อาทิ การสร้างและพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป การสร้างและพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น การผลิตสื่อการสอน การผลิตชุดกิจกรรมรวมถึงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ฯลฯ สนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแก่นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนที่สนใจ 

งานแถลงข่าวความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และ พล.ต.อ ดำรงศักดิ์  กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี ผู้ร่วมลงนามเป็นพยานประกอบด้วย รศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ และ พล.ต.ท. ธัชชัย  ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวถึงความสำคัญของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยีว่า จุฬาฯ มีพันธกิจในการสร้างคน สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม เพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีออนไลน์สามารถทำให้เราเข้าถึงความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา จุฬาฯ มีระบบเครดิตแบงก์ เมื่อเข้ามาเรียนรู้และผ่านการทดสอบแล้ว จะมีการเก็บเป็นหน่วยกิตสะสมไว้ในธนาคารหน่วยกิตของจุฬาฯ หลักสูตรจากความร่วมมือในครั้งนี้จะเผยแพร่ผ่านจุฬาฯ นิวรอน (Chula Neuron) ซึ่งเป็นระบบคลังความรู้ดิจิทัลของศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ โดยนิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบนี้ได้ ความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และการรู้เท่าทันกลโกงในโลกออนไลน์มากขึ้น สามารถหาวิธีป้องกันและรับมือกับภัยทางด้านอาชญากรรมทางดิจิทัลเทคโนโลยี

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความสำคัญและความจำเป็นของความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนไม่ถูกหลอกลวง และเพื่อป้องกันตนเอง เนื่องจากคดีออนไลน์เป็นภัยคุกคามที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ริเริ่มตั้งคณะทำงานวัคซีนไซเบอร์ โดยมีคณาจารย์จุฬาฯ ร่วมเป็นคณะทำงานด้วย ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาฯ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติในครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการเผยแพร่หลักสูตรความรู้ในเชิงวิชาการด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์แก่นิสิตนักศึกษาและประชาชน    

รศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ

รศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ ได้จัดกิจกรรมภายใต้ธีม “สร้างเสริมภูมิคุ้มกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี The series” ผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น (CUVIP) 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม “รู้ทันกลโกงหลอกลวงบนโลกออนไลน์” เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักและเข้าใจเเบื้องต้นเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ โดยเน้นเรื่องการรู้ทันกลโกง 18 รูปแบบจากมิจฉาชีพ ซึ่งเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจเข้ามาเรียนได้ฟรี พร้อมทั้งให้ประกาศนียบัตรหลังเรียนจบหลักสูตร นอกจากนี้ได้นำกิจกรรมดังกล่าวไปเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนผ่านแพลตฟอร์ม Chula Neuron ในรายวิชาการเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning for Life) ซึ่งเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรม “สตรีกับการปกป้องตนเองจากภัยรอบตัว” ซึ่งเป็นหลักสูตร CUVIP ที่จัดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยความร่วมมือระหว่าง CUVIP กับสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยฯ สมาคมนักเรียนเก่าราชินีฯ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ในอนาคต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีโครงการการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน อาทิ รายวิชาศึกษาทั่วไปของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 3 หน่วยกิต มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (Cyber Security) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วน และมีการนำกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นบทเรียน โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนเป็น Blended Learning บนแพลตฟอร์ม Chula Neuron กลุ่มผู้เรียนจะมีทั้งนิสิตจุฬา ฯ และบุคคลทั่วไป ความร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี การรู้เท่าทันกลโกงในโลกออนไลน์มากขึ้น รวมถึงวิธีการป้องกันและรับมือสถานการณ์อันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันผ่านการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต นอกจากนี้อาจมีความร่วมมือกับคณะหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการรู้เท่าทันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเป็นประโยชน์กับนิสิต คณาจารย์ บุคลากร ประชาคมจุฬาฯ และประชาชนทั่วไป ตามเจตนารมณ์ของจุฬาฯ คือ “ผู้นำการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”

 สามารถติดตามรายละเอียดโครงการ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ จากความร่วมมือในครั้งนี้ได้ที่

เว็บไซต์ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ http://gened.chula.ac.th   

เว็บไซต์กิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น (CUVIP) https://www.cuvip.gened.chula.ac.th/

และเว็บไซต์ Chula Neuron : https://cuneuron.chula.ac.th/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า