รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 กันยายน 2566
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, ภาพข่าว
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงาน “Global Collaboration to Improve Stroke Care in Thailand and Beyond” เมื่อวันพุธที่ 13 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุม 303 ชั้น 3 อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อสร้างเสริมความรู้และความเข้าใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นของโลก ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม
งาน “Global Collaboration to Improve Stroke Care in Thailand and Beyond” เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงความสำคัญของงานนี้โดย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย Assoc. Prof. Ashutosh Jadhav, World-renowned Interventional Neurologist Barrow Neurological Institute, Arizona, USA Chief Scientific Officer, Gravity Medical Technology และ รศ.นพ.คุณากร อัชชนียะสกุล Vascular and Interventional Neurologist Virginia Mason Medical Center, Washington, USA CEO, Gravity Medical Technology Inc. จากนั้น รศ.(พิเศษ) พญ.อรอุมา ชุติเนตร อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาคอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต้อนรับ และการกล่าวเปิดงาน โดย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
“โรคหลอดเลือดสมอง” เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก การพัฒนาหัตถการ mechanical thrombectomy ด้วยเครื่องมือแพทย์ในกลุ่ม stent retriever เป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ปัจจุบันมีผู้ป่วยไม่ถึง 5 % ทั่วโลกที่สามารถเข้าถึงการรักษานี้ได้ โดยข้อมูลที่มีอยู่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ประชากรชาวคอเคเชียน ซึ่งจำกัดความเข้าใจเกี่ยวกับผลการรักษาโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ป่วยชาวไทยและชาวเอเชียที่เผชิญกับปัจจัยเสี่ยงเฉพาะ เช่น ภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและพัฒนาแผนการรักษาที่ปรับให้เหมาะกับผู้ป่วยในประเทศเอเชียโดยเฉพาะ
ความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับเครือข่ายทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติใน ครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Stent-retriever ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โดยเน้นที่ผู้ป่วยชาวไทยและชาวเอเชียโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองอุดตันจากหลอดเลือดในสมองตีบมากกว่าประชากรกลุ่มอื่น เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าวที่ยังขาดแคลนและนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับประเทศในเอเชีย
นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในการทำวิจัย เป็นการแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบและรวมข้อมูลจาก clinical registry อื่น ๆ ในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และอำนวยความสะดวกในการทำความเข้าใจที่ครอบคลุมมากขึ้นเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันในประชากรที่แตกต่างกัน โดยจะมีการเผยแพร่ผลการศึกษาผ่านสิ่งพิมพ์ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ การประชุมระหว่างประเทศ และฟอรัมทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากผลการวิจัยอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้จะมีการลงทะเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันชาวไทยและชาวเอเชียจำนวนกว่า 200 คน ด้วยการเก็บข้อมูลแบบ Prospective ที่ได้รับการรักษาด้วย Mechanical Thrombectomy โดยใช้ Stent-retriever การรวบรวมข้อมูลจะรวมถึงข้อมูลประชากรของผู้ป่วย ลักษณะทางคลินิก รายละเอียดขั้นตอน และผลลัพธ์หลังการรักษา การวิเคราะห์ย่อยจะมุ่งเน้นไปที่การประเมินลักษณะและผลลัพธ์ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองตีบ ข้อค้นพบจากการลงทะเบียนผู้ป่วยจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ใส่ขดลวด สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันในผู้ป่วยชาวไทยและชาวเอเชีย และจะนำไปสู่ข้อมูลในการศึกษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันในประชากรเอเชีย และเป็นต้นแบบในการพัฒนาแนวทางการรักษาที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะของกลุ่มประชากรดังกล่าวต่อไป
ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย มีผู้เสียชีวิตถึงปีละ 70,000 ราย และเป็นสาเหตุความพิการในระยะยาว โรคนี้พบบ่อยในผู้สูงอายุ ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีนวัตกรรมการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน ซึ่งต้องสั่งจากต่างประเทศและมีราคาสูง ความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับ Gravity Medical Technology Inc. สหรัฐอเมริกาที่มีผู้เชี่ยวชาญในโรคนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ช่วยให้การรักษาโรคนี้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นด้วยวิธีการรักษาใหม่ๆ เป้าหมายหลักคือทำให้คนไทยและคนในภูมิภาคเอเชียมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือถ้าเป็นโรคนี้แล้วก็จะช่วยให้การรักษาผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่พิการหรือเสียชีวิต
“อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐอเมริกาที่มาร่วมการประชุมในครั้งนี้มีความชำนาญอย่างยิ่งในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน มีเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาการรักษาโรคนี้อย่างก้าวกระโดด” ศ.พญ.นิจศรี กล่าว
รศ.นพ.คุณากร อัชชนียะสกุล แพทย์เฉพาะทางด้านโรคหลอดเลือดสมองและหัตถการทางด้านโรคหลอดเลือดสมอง Gravity Medical Technology Inc มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า เป้าหมายที่ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมองจากสหรัฐอเมริกามาร่วมงานกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในครั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางการแพทย์ มีอัตราการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจำนวนมากในแต่ละปี รวมทั้งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการรักษาผู้ป่วยโรคนี้สูงเนื่องจากมีอัตราแพทย์ต่อคนไข้โรคเลือดสมองมากกว่าประเทศอื่น ทางทีมแพทย์ที่ใช้ชื่อว่า Gravity Mission จากสหรัฐอเมริกา มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยและทั่วโลกได้รับการรักษาเท่าเทียมกัน รวมทั้งพัฒนาการวิจัยและการรักษาโรคนี้ในประเทศไทยให้เป็นต้นแบบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป้าหมายแรกคือการวิจัยโดยการนำอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ที่เป็นเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
ภาพ : นิธิกานต์ ปภรภัฒ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้