รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 ตุลาคม 2561
ข่าวเด่น
แต่เดิมคนไทยใช้แม่น้ำลำคลองในการสัญจรและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ยุคสมัยเปลี่ยนไป
ภาพขยะในแม่น้ำคูคลองมีให้เห็นชินตา ใน 1 วัน จะมีขยะไหลมารวมกันเฉลี่ยวันละ 1 ตัน! สถิติในช่วงต้นปี 2560 กรุงเทพมหานครเก็บขยะจากหน้าสถานีสูบน้ำได้ถึง 1,300 ตัน และเก็บขยะในแม่น้ำได้ทั้งหมด 404 ตัน ซึ่งเท่ากับว่ามีขยะเฉลี่ย 13.5 ตันต่อวัน หากวันไหนฝนตกก็จะเก็บขยะที่ลอยมากับน้ำได้เพิ่มอีก 15 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะชิ้นใหญ่ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนทิ้งลงแม่น้ำ เช่น ผ้าใบ ป้ายไวนิลโฆษณา โต๊ะ ตู้ ยางรถยนต์ ที่นอน รวมไปถึงโซฟาบุนวมขนาดใหญ่
ขยะเหล่านี้ส่งกลิ่นเหม็นเน่า เป็นแหล่งรวมเชื้อโรค รวมไปถึงสร้างปัญหายอดฮิตของคนเมือง นั่นก็คือทำให้เกิดปัญหาขยะสะสม กีดขวางการระบายน้ำ แม้ว่าจะมีการสร้างอุโมงค์ขึ้นมาเพื่อระบายน้ำในยามฝนตก แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไร ถ้าทุกคนยังคงทิ้งขยะลงแม่น้ำ ต่อให้อุโมงค์ใหญ่แค่ไหน ขยะก็เข้าไปอุดตันอยู่ดี และที่สำคัญ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ “ขยะก็จะเคลื่อนย้ายลงสู่ทะเลและสร้างปัญหาไม่จบไม่สิ้นให้กับระบบนิเวศต่อไป
วันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็นวัน“อนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลองแห่งชาติ” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จประพาสทางชลมารค เพื่อตรวจสภาพคลองแสนแสบจากคำกราบบังคมเชิญของชมรมใจภักดิ์รักต้นไม้ แม่น้ำ ลำคลอง และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชน หันกลับมาให้ความสำคัญกับแม่น้ำคูคลองอีกครั้งหนึ่ง
อย่าปล่อยให้ขยะอยู่ในลำคลอง ทางที่ดีควรทิ้งขยะให้ลงถังเสียตั้งแต่แรกจะดีกว่า ถ้าเราช่วยกันคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เราก็จะสามารถคัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อีกทั้งช่วยลดการทำลายขยะที่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้แหล่งท่องเที่ยวใหม่ ปลุกชีพการเดินทาง การสัญจรทางน้ำขึ้นมาอีกครั้ง
Together we can มั่นใจเราทำได้! ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
BLT Thailand, THE STANDARD
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้