รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 กันยายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย จัดโครงการชุมชนปลอดมาลาเรีย นำคณาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาลงพื้นที่ชุมชนที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรียในจังหวัดตาก จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดกาญจนบุรี ให้บริการตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรีย ระยะเวลาการปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 31 สิงหาคม 2566
ผศ.ดร.ทนพ.สุทธิภัทร ศรีสุธรรม ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการชุมชนปลอดมาลาเรีย เปิดเผยว่า มาลาเรียหรือไข้จับสั่นเป็นโรคที่มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำโรคสู่คนจากการเข้าป่าและถูกยุงกัด ผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการสามารถแพร่เชื้อต่อให้กับคนในครอบครัวและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายที่จะกำจัดเชื้อมาลาเรียให้หมดไป การตรวจเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการกำจัดโรคไข้มาลาเรียของประเทศ โดยภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ มีการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเทคนิคทางชีวโมเลกุลเพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรียที่มีความไวและความจำเพาะสูง โครงการนี้มุ่งเน้นการหาผู้ที่ติดเชื้อไข้มาลาเรียให้กับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่การระบาด ในสามจังหวัด หากสามารถตรวจพบเชื้อในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะทำให้เราสามารถทำการรักษาผู้ป่วยเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อมาลาเรียได้
เหตุผลที่ตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อมาลาเรียที่จังหวัดตาก ศรีสะเกษ และกาญจนบุรี
จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดโรคมาลาเรียจะอาศัยในพื้นที่ชายแดนซึ่งเป็นพื้นที่ป่า ประชาชนมักจะเดินทางไปหาของป่าและใช้ชีวิตในบริเวณนั้น ทำให้มีโอกาสถูกยุงก้นปล่องกัดได้ จังหวัดตาก ศรีสะเกษ และกาญจนบุรี เป็นพื้นที่การระบาดของโรคมาลาเรีย ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิกจึงเลือกพื้นที่สามจังหวัดนี้ในการตรวจคัดกรองโรคมาลาเรีย
ขั้นตอนการให้บริการตรวจโรคมาลาเรีย
ขั้นตอนหลักๆ ในการลงพื้นที่ตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อมาลาเรีย เริ่มจากการเก็บเลือดของคนในชุมชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเพื่อนำมาตรวจด้วยเทคนิค RDTs ด้วยชุดตรวจแบบรวดเร็ว และเทคนิคการตรวจทางชีวโมเลกุล ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยโรคติดเชื้อ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีการสกัด DNA จากเลือดเพื่อการวิเคราะห์และรักษาต่อไป
ความสำเร็จและประโยชน์ของโครงการ
ผลการดำเนินโครงการเป็นไปด้วยดี มีประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดเข้ารับบริการตรวจคัดกรองจำนวนทั้งสิ้น 588 คน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการตอบรับจากผู้รับบริการเป็นอย่างดี โดยมูลนิธิรักษ์ไทยยินดีที่จะสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปในอนาคต
ประโยชน์ของโครงการนี้ทำให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยในพื้นที่จังหวัดตาก ศรีสะเกษ และกาญจนบุรี ได้รับการบริการตรวจคัดกรองโรคมาลาเรียโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในส่วนของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ การลงพื้นที่ไปในชุมชนเป็นการเปิดตัวให้ประชาชนรู้จักคณะว่ามีพันธกิจในด้านต่าง ๆ ทั้งการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการให้บริการตรวจเชิงรุกหาผู้ติดเชื้อมาลาเรีย เป็นการกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ส่งเสริมสุขภาพประชาชนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ในส่วนคณาจารย์คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ได้มีโอกาสนำความรู้ในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ไปใช้ประโยชน์ในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน เช่นเดียวกับนิสิต ก็ได้นำองค์ความรู้ไปช่วยเหลือสังคม และช่วยปลูกจิตสำนึกในเรื่องการมีจิตสาธารณะ
จากความสำเร็จของโครงการนี้ทำให้ในอนาคตทางคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ จะจัดโครงการดีๆ เช่นนี้ต่อไป สำหรับผู้สนใจร่วมสนับสนุนโครงการชุมชนปลอดมาลาเรีย สามารถติดต่อได้ที่ ผศ.ดร.ทนพ.สุทธิภัทร ศรีสุธรรม คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ E-mail Suttipat.sr@chula.ac.th โทร. 08-5908-4808
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้