รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 กันยายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” วันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 18.00 – 20.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี 2501 – 2516
งาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ในปีนี้ วงดนตรี CU Band วงดนตรีพี่เก่า OCU Band และวงดนตรี CU Chorus ขับขานบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระราชนิพนธ์ในช่วงปี 2501 – 2516 ซึ่งเป็นบทเพลงพระราชนิพนธ์ในลำดับที่ 27 – 44 รวมทั้งบทเพลงไพเราะที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดย วงดนตรี CU Band ขับร้องและบรรเลงบทเพลง แสงเดือน เพลินภูพิงค์ มาร์ชราชนาวิกโยธิน ภิรมย์รัก Nature Waltz, The Hunter, Kinari Waltz แผ่นดินของเรา พระมหามงคล ยูงทอง เกษตรศาสตร์ วง CU Chorus ขับขานบทเพลง ร่มจามจุรี เกียรติภูมิจุฬาฯ วงพี่เก่า OCU Band ขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในดวงใจนิรันดร์ Still on my mind เพลงเตือนใจ Old-fashioned melody ไร้เดือน No moon เกาะในฝัน Dream island แว่ว Echo ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และปิดท้ายด้วยการขับร้องหมู่ในเพลง When
ในงานมีการบริจาคเงินสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาในงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี วันที่ 20 กันยายนของทุกปี
“วันทรงดนตรี” เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานแก่คณาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ที่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ที่ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิสิตจุฬาฯ เข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2500 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร ต่อมาได้รับสั่งกับ นายสันทัด ตัณฑนันทน์ หัวหน้าวงดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาฯ สมัยนั้นว่าจะนำวงลายครามมาบรรเลงที่จุฬาฯ งานวันทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2501
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จฯมาทรงดนตรีที่จุฬาฯ ระหว่างปี 2501 – 2516 เนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจเพิ่มขึ้นจึงไม่ได้เสด็จฯ มาทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยอีกโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2545 ที่ศาลาพระเกี้ยว และย้ายมาจัดที่หอประชุมจุฬาฯ เมื่อปี 2546 ต่อมาในปี 2547 จุฬาฯ ได้กำหนดไว้ในปฏิทินกิจกรรมของมหาวิทยาลัยว่าวันที่ 20 กันยายนเป็นวันที่ระลึกวันทรงดนตรี จากนั้นจึงมีการจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรีเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคสมทบกองทุนเพื่อการวิจัยด้านศัลยศาสตร์ สนับสนุนการพัฒนาและนวัตกรรมทางการแพทย์
เชิญชวนบุคลากรจุฬาฯ ร่วมกิจกรรม “เฮลท์ตี้…Young? เติมพลังชาวจุฬาฯ” รุ่นที่ 2
จุฬาฯ จับมือ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มอบความคุ้มครองให้บุคลากร ปีที่ 2 พร้อมลงนามสัญญายกระดับให้บริการทันตกรรม
บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ: ส่องการศึกษาไทยในยุคที่เด็กเกิดน้อย
จุฬาฯ – สสว. ส่งเสริม SMEs ไทยสู่ความมั่นคงและยั่งยืนด้วยนวัตกรรม AI รายงาน Carbon Footprint
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้