ข่าวสารจุฬาฯ

นิทรรศการ ” ไทยจ๋า ” [ THAIJA ]

นิทรรศการ ” ไทยจ๋า “ [ THAIJA ] โดยศิลปินกลุ่มเสือดุ ได้แก่ สุชา ศิลปชัยศรี, สิโรจน์ พวงบุบผา, อนุวัฒน์  ลัดดาวัลย์, ปรียาชนก เกษสุวรรณ, ทนงศักดิ์ ปากหวาน, นพวงษ์  เบ้าทอง, ขวัญชัย ลิไชยกุล, ชัยรัตน์ มงคลนัฏ และ ชวลิต อุ๋ยจ๋าย จะจัดแสดงในวันที่ 14 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2561 (พิธีเปิดนิทรรศการวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 เวลา 18.00น.) ณ ห้องนิทรรศการชั้น 2 ห้องนิทรรศการ 3

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 08-3133-3653 (คุณสุชา)

 

แนวความคิด

 

“ความเป็นไทย” ที่เป็นความเข้าใจของคนโดยมาก มักหมายถึงสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นตามแบบแผนที่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้อาจเป็นรูปแบบที่สามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงลักษณะความเป็นไทยได้จากศิลปกรรมแบบโบราณ นอกจากนี้ยังมีอีกความเข้าใจหนึ่งว่า “ความเป็นไทย” คือ ความผสมผสาน การปรับตัว ความอ่อนน้อยถ่อมตน ความห้าวหาญ ดุดัน และมีโวหาร ซึ่งล้วนเป็นการแสดงออกของคนไทยแทบทั้งสิ้น งานศิลปกรรมไทยก็เช่นกัน ความเป็นไทยจึงไม่เคยหยุดนิ่ง มีการปรับตัวให้สอดรับการหมุนเวียนไปของสังคม มีความโดดเด่นที่งานศิลปะนั้นมาจากการซึมซับความรู้สึก กาลเวลา และเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในช่วงชีวิตของศิลปิน โครงการนิทรรศการแสดงผลงานศิลปกรรม “ไทยจ๋า” เป็นโครงการที่ตั้งขึ้นโดยกลุ่มคณาจารย์ต่างสถาบันและศิลปินอิสระ ซึ่งร่วมอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ โดยแสดงออกตามความประทับใจและประสบการณ์ชีวิตที่ได้สร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่อง “ไทยจ๋า” จึงไม่ใช่คำเปรียบเปรยถึงความเป็นไทยแท้ดั้งเดิม  แต่ไทยจ๋าเป็นคำเรียกขานเพื่อนศิลปินให้มาร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะที่สะท้อนแนวคิดไทย วิถีไทยด้วยกันแม้ว่าศิลปินในโครงการจะประกอบด้วยบุคคลอันมีอาชีพที่แตกต่าง แต่ทุกคนจะรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อตนเองและครูอาจารย์ด้วยการสร้างสรรค์ผลงาน ผ่านเทคนิค แนวความคิดที่ได้พิจารณา ไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน แบ่งปันความรู้ให้กัน การทำงานเช่นนี้จะนำไปสู่การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีความสุขในตนเองและส่งผ่านความงามไปกระทบยังจิตใจของผู้อื่น  ทั้งยังเป็นการทำนุบำรุง สืบสาน พัฒนา ผลงานศิลปะไทยไม่ว่าจะเป็นเทคนิค แนวคิด การแสดงออก รวมไปถึงเป็นการพัฒนาตนเองในด้านทักษะวิชาชีพ วิชาการ เพื่อนำไปถ่ายทอดเป็นความรู้ นำไปประยุกต์ใช้ในอาชีพการงานของตน

นิทรรศการแสดงผลงานศิลปกรรม “ไทยจ๋า” มีเจตนาให้ศิลปินนึกถึงรากเง้า  โหยหาให้ถึงแก่นแท้ของศิลปะไทยที่ฝังอยู่ในจิตใจของตน ถ่ายทอด แสดงออกเป็นผลงานศิลปะในรูปแบบอันหลากหลายทั้งเทคนิคแบบไทย แนวความคิดอย่างไทย หรือการแสดงออกทางอารมณ์แบบไทย ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะไทยแบบแนวประเพณี งานศิลปะไทยร่วมสมัย หรืองานศิลปะไทยแบบพื้นบ้าน ทุกคนได้ถ่ายทอดผ่านผลงานสร้างสรรค์ที่มีความเป็นอัตลักษณ์ส่วนตน อันเป็นทิศทางอันดีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างศิลปิน และนิทรรศการในครั้งนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำงานศิลปะ พัฒนาความสมารถในการสร้างสรรค์ รู้จักทดลอง แก้ไขปัญหา วิเคราะห์การปฏิบัติงานของตนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองให้เจริญยิ่งขึ้นด้วยความพากเพียร

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า