รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 ตุลาคม 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) จัดงานแถลงข่าว “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2566” ภายใต้แนวคิด “จุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมฯ และ นายณัฐพล รังสิตพล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2566 ร่วมแถลงข่าว เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า งานปิยมหาราชานุสรณ์จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจุฬาฯ ยังคงสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จวบจนปัจจุบัน ได้น้อมนำเป็นแนวทางในการวางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนจุฬาฯ ไว้ 3 ด้าน คือ Future Leaders ผู้นำแห่งอนาคต Impactful Research & Innovation งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีประโยชน์สูงเพื่อสังคม และ Sustainability การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับธีมการจัดงานในปีนี้ ภายใต้แนวคิด “จุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน” โดยจุฬาฯ ตั้งเป้าหมายเป็นมหาวิทยาลัยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 ผ่าน 5 กลยุทธ์ ประกอบด้วย Energy Transition ปัจจุบันมีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาของอาคารกว่า 30 แห่งในมหาวิทยาลัย Improving Energy System Resilience ติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารอัจฉริยะ Creating Green Growth พื้นที่กว่า 50% เป็นพื้นที่สีเขียว มีการสำรวจและประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ Lifestyle Transition รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรใช้รถบัสไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า จักรยานภายในมหาวิทยาลัย โครงการ Chula Zero Waste ดูแลจัดการเรื่องขยะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และ Social Transition Social Support System กับกิจกรรม Chula SDG : Beyond Leading Change เสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ทางด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับบุคลากรจุฬาฯ
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์- นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ กล่าวว่า ในวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวจุฬาฯ ต่างน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ น้อมใจแสดงความจงรักภักดีอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2566 “จุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน” จัดขึ้นเพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงวางรากฐานงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลากหลายมิติ อาทิ ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ด้านคมนาคม รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีการจัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น เพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
“เป็นโอกาสที่ดีในการเชิญชวนชาวจุฬาฯ ทั้งนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันสมทบทุนจุฬาสงเคราะห์และทุนอาหารกลางวัน ให้กับนิสิตที่มีความประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาคมจุฬาฯ และสังคมโดยรวม รวมท้ัง โครงการเลือดชมพู (CU Blood) “เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทย ไม่ขาดเลือด” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สนจ. และนิสิตปัจจุบัน ที่จะเชิญชวนและรณรงคให้นิสิต นิสิตเก่า อาจารย์ บุคลากรของจุฬาฯ และประชาชนทั่วไป ร่วมบริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยไม่ให้ขาดเลือดตลอดทั้งปี โดยมีเป้าหมายสำหรับยอดผู้บริจาคจำนวน 4,000 คน เป็นรายใหม่ไม่น้อยกว่า 800 คน ระหว่างวันที่ 24-29 ตุลาคม 2566”
นายณัฐพล รังสิตพล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2566 กล่าวถึงการจัดงานในคร้ังนี้ว่า งานปิยมหาราชานุสรณ์ 2566 จัดขึ้นเพื่อน้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน และสาธารณประโยชน์ที่ทรงวางรากฐานเมื่อประมาณ 170 ปี ที่แล้ว มาร่วมสานต่อ โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นตลอดงานจะคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ด้วยการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอน หรือเรียกว่าการจัด งานคาร์บอนนิวทรัล อีเว้นท์ (Carbon Neutral Event) เพื่อรับผิดชอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ เน้นใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย สนับสนุนการเดินทางด้วยรถบัสไฟฟ้า (EV Bus Transportation) ลดการใช้พลาสติกจากภาชนะอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น สำหรับกิจกรรมในภาคเช้าจะจัดให้มีพิธีถวายสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราช และสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หน้าหอประชุมจุฬาฯ และพระบรมรูปทรงม้า ลานพระราชวังดุสิต ในภาคค่ำ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ มาร่วมเทิดพระเกียรติผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การจัด Exclusive Exhibition แสดงภาพถ่าย และเครื่องใช้หาชมยากในสมัยรัชกาลที่ 5 วิดีทัศน์เทิดพระเกียรติ “พระปิยมหาราช ต้นธารสู่ความยั่งยืน”กิจกรรม CU Alumni Talk : “จุดพลังเพื่อโลกยั่งยืน” ละครเวทีเทิดพระเกียรติพระปิยมหาราช ชุด “Net Zero Hero สานต่อพระราชปณิธานความยั่งยืน” การแสดงดนตรีวง CU Band และศิลปินนิสิตเก่าจุฬา รวมถึงกิจกรรมระดมทุนบริจาคทุนจุฬาสงเคราะห์ และทุนอาหารกลางวัน เพื่อสร้างรากฐานทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของนิสิตที่ประสบปัญหาด้านทุนทรัพย์ ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เกิดความยั่งยืน
ขอเชิญชวนร่วมบริจาคได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผ่านการโอนเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย เลขที่ 073-3-51890-1 บัญชีชื่อ มูลนิธิสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับกิจกรรมวันปิยมหาราชานุสรณ์นี้สามารถติดตามรับชม Live สดได้ทาง Facebook Page : Backbone MCOT, Chulalongkorn University และ Chula Alumni
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้