รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 ตุลาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง “รู้ลึกกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน” หวังสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนเกี่ยวกับกฎหมายและการดำเนินคดีต่อผู้เยาว์ พร้อมแนะแนวทางการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย
เมื่อวันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 20 เรื่อง “รู้ลึกกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน” ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 เพื่อให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายและขั้นตอนการการดำเนินคดีกับเด็กและเยาวชน รวมไปถึงแนวทางการในดูแลเด็กและเยาวชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงซ้ำรอย วิทยากรผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย อ.ณัฏฐพร รอดเจริญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ โดยมี ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง จากภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ
ในส่วนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน อ.ณัฏฐพร กล่าวว่า นอกเหนือไปจากเรื่องของการเยียวยาผู้เสียหายแล้วนั้น แต่ในอีกมุมหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมฯ เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในสมาชิกภาคีอนุสนธิสัญญาสิทธิเด็กจึงต้องให้ความปกป้องคุ้มครองต่อเด็กด้วย ในกระบวนการดำเนินคดีทางอาญา จึงต้องมีการใช้กฎหมายและกระบวนการที่เป็นลักษณะเฉพาะขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการอย่างไม่เคร่งครัด การปิดทุกอย่างให้เป็นความลับ เพื่อให้เด็กไม่ถูกตีตรา สามารถกลับตัวมาเป็นคนดีของสังคม และไม่หวนไปกระทำความผิดซ้ำอีก กระบวนการนี้จึงเป็นการทำให้สังคมกลับคืนสมดุล โดยอยากให้มองในภาพรวมเป็นหลัก ไม่ใช่ในกรณีใดกรณีหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม
ทั้งนี้ สำหรับเด็กหรือเยาวชนเมื่อทำผิดจะถูกดำเนินคดีภายใต้ศาลเยาวชนและครอบครัว จะมีขั้นตอนการดำเนินคดีแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ โดย พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ที่เป็นกฎหมายกำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดีกับเด็กหรือเยาวชน มีเจตนารมณ์และบทบัญญัติที่มุ่งฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนที่ทำความผิดทางอาญามากกว่ามุ่งลงโทษ ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำแนกตามเกณฑ์อายุเด็กหรือเยาวชนเป็นหลัก และเป็นไปตามหลักการสากล
ในส่วนของบทลงโทษของเยาวชนมีความแตกต่างจากผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่นั้น อ.ณัฏฐพร อธิบายว่า เป็นเพราะว่าเป้าประสงค์ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีความต่าง โดยมองว่าเด็กคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของโลก มีความพึ่งพิงกับครอบครัวและปัจจัยหลายด้านของสังคม กระบวนการตัดสินใจมีปัจจัยหลายอย่างประกอบ ต่างจากอาชญากรที่เป็นผู้ใหญ่ที่ผู้กระทำความผิดเด็กอาจจะเกิดจากกระบวนคิดและวิจารณญาณ กระบวนยุติธรรมต้องแยกจากผู้ใหญ่
“ทั้งนี้มีข้อสังเกตที่ท้าทายว่าพฤติกรรมในกลุ่มของวัยรุ่นต้นต้น อายุ 12-15 ได้รับอิทธิพลจากสื่อค่อนข้างจะมาก ในส่วนที่จะพิสูจน์ว่าพวกเขารู้สึกนึกหรือมีเจตนาที่จะกระทำความผิดทางอาญาหรือไม่นั้น อาจจะมีข้อพิจารณาในการแก้ไขข้อกฎหมายในอนาคต เช่น นำไปรวมกับกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-18 ซึ่งศาลอาจจะพิจารณาว่าอาจต้องรับโทษทางอาญาหรือไม่ก็ได้ เป็นต้น” อ.ณัฏฐพร กล่าว
โดยคดีเด็กและเยาวชนจะใช้หลักการไม่ควบคุมโดยไม่จำเป็น การควบคุมตัวมีระยะเวลาที่สั้นเพียง 24 ชม. สำหรับการจับกุมต้องแจ้งไปที่สถานพินิจ จากนั้นนำตัวไปศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อตรวจสอบการจับกุมว่าเด็กได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือไม่ และระหว่าง 30 วันในการควบคุมตัว ศาลเยาวชนและครอบครัวจะต้องกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เช่น บำบัดรักษา ตรวจสภาพร่างกายและจิตใจ ตรามพรบ.ศาลเยาวชนและครอบครัว หลักการที่สำคัญคือเบี่ยงเบนคดีไม่ให้เด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยไม่จำเป็น ดังนั้นจะมีการดำเนินคดีพิเศษ ศาลสามารถทำแผนฟื้นฟู และดูว่าเด็กรู้สำนึกผิดหรือไม่ เพื่อไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลอาญา
ส่วนในกรณีที่เด็กก่อเหตุอุกฉกรรจ์ จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก โดยมีการกำหนดเงื่อนไข มีการใช้นักบำบัด นักจิตวิทยา สหวิชาชีพ เข้าอบรมเพื่อให้เด็กปรับปรุงตัวและคืนกลับเข้าสู่สังคมได้ ทั้งนี้คดีอาญาเด็กและเยาวชนมีหลักการคือ ต้องไม่นำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลของเยาวชน ไม่มีการถ่ายภาพ อัดเสียง มีการห้ามคนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ารับฟังการพิจารณาคดี ที่สำคัญคือการไม่ตีตรา ให้ความสำคัญหรือให้พื้นที่สื่อกับผู้ก่อเหตุ เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ
ด้าน ผศ.ดร.ณัฐสุดา กล่าวว่า ในส่วนของกระบวนการทางกฎหมาย ค่อนข้างระบุชัดว่าจะต้องมีสหวิชาชีพเข้ามาดูแลร่วมด้วย และหนึ่งในนั้นก็คือนักจิตวิทยา ทั้งนี้ ตนอยากจะให้มองแยกออกจากกัน ระหว่างการเยียวยารักษาปัญหาทางจิตใจของผู้ต้องหาที่ต้องเกิดขึ้น ควบคู่ไปกับกระบวนการทางคดีความ
“ในการวินิจฉัยว่ามีอาการทางจิตจริงหรือไม่ ในประเทศไทยก็มีการใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์ในการวินิจฉัย ซึ่งมีกระบวนการมากมาย ดังนั้นการที่จะได้คำตอบว่าเด็กมีอาการทางพยาธิสภาพ หรือเป็นโรคอะไร หรือแกล้งทำหรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและอยู่ในความสนใจแบบนี้ เชื่อว่าผู้ที่จะมาทำการวินิจฉัยจะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจริง ๆ ดังนั้นการแกล้งทำ จึงเชื่อว่าไม่สามารถทำได้ค่ะ” ผศ.ดร.ณัฐสุดา กล่าว
ต่อคำถามที่ว่าทำไมเด็กและเยาวชนต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ผศ.ดร.ณัฐสุดา อธิบายว่า เด็กและเยาวชนยังไม่อาจพัฒนากระบวนการคิด หรือมีแนวคิดด้านจริยธรรม แยะแยะถูกผิดได้เท่าผู้ใหญ่ ซึ่งกว่าจะรู้ว่าอะไรถูกหรือผิด ต้องผ่านกระบวนการคิดในช่วงพัฒนาการเสียก่อน
“เราทุกคนต่างรู้สึกกระทบกระเทือนกับเหตุการณ์ มันเป็นความรุนแรงที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่เมื่อไหร่ที่เรากระเทือนแล้วระบายความโกรธออกไปข้างนอก ชี้นิ้วว่าใครต้องทำอะไร มันควรต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เราไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้ แต่ถ้าเรากลับมาถามตัวเองว่าแล้วฉัน ในฐานะคน ๆ หนึ่งจะทำอะไรได้บ้าง ดิฉันเชื่อว่าสักวันหนึ่งเราจะเปลี่ยนแปลงมันได้ อย่าคิดว่าเราทำไม่ได้ พูดกันอย่างตรงไปตรงมา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าเขาจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ มีความผิดปกติทางจิตใจหรือไม่ แต่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมันคือความรุนแรงและส่งผลเสียหาย”
“ความรุนแรงไม่ได้อยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้น มันต้องมีที่มาที่ไป ซึ่งตอนนี้เราหลายคนพยายามอธิบายถึงสาเหตุที่มาที่ไปเพื่อหา 1 คำตอบ กับ 1 พฤติกรรมนี้ ดิฉันขอตอบว่าไม่มี 1 คำตอบนั้น การที่เราไปบอกว่าเป็นเพราะเกม เพราะการเลี้ยงดู หรือเพราะสาเหตุอื่น ๆ ดิฉันขอตอบว่าเป็นเพราะทุกเหตุปัจจัยรวมกัน สิ่งที่เราช่วยกันได้คือการเริ่มสังเกตพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของเด็ก ๆ ของคนที่เราดูแล ทั้งทางร่างกาย วาจา และความรุนแรงที่กระทำต่อตัวเอง ทำร้ายตัวเอง ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน ถ้าเราไม่อยากให้ความรุนแรงมันยกระดับ เราจะต้องไม่โอเคกับทุกความรุนแรง เราต้องเริ่มฝึกสังเกตและยับยั้งกันตั้งแต่แรก ถ้าเราสามารถช่วยเด็ก ๆ ให้สามารถตระหนักรู้ถึงอารมณ์ที่มีอยู่ข้างใน สื่อสารได้ออกมาอย่างเหมาะสม มีคนคอยรับฟัง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะก็ไม่มีการยกระดับจนนำไปสู่เหตุน่าสะเทือนใจ” ผศ.ดร.ณัฐสุดา กล่าว
ผู้สนใจ สามารถรับชมถ่ายทอดสด งานเสวนาวิชาการ Chula The Impact ครั้งที่ 20 “รู้ลึกกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน” ย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity/videos/1003953220855454
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้