ข่าวสารจุฬาฯ

CU Top 10 News รวมเรื่องเด่นของจุฬาฯ เดือนกรกฎาคม – กันยายน 2566

จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากสถาบันหลักของโลก 2 แห่ง Times Higher Education 2024 และ QS World University Rankings 2024

https://www.chula.ac.th/news/134832/

Times Higher Education ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2024 หรือ THE WUR 2024 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมทั้งสิ้น 2,673 แห่ง อันดับของจุฬาฯ ใน THE WUR 2024 เมื่อพิจารณาจากคะแนนรวม เป็นอันดับที่ 1 ของไทย และอยู่ในอันดับที่ 601-800 ของโลกนอกจากนี้ QS World University Rankings 2024 ได้จัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา 2,963 แห่งทั่วโลก ซึ่งจุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยเป็นปีที่ 15 ติดต่อกัน (ตั้งแต่ปี 2009) และติดอันดับ 211 ของโลก

จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต แหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์สู้โลกเดือด ชูนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง

https://www.chula.ac.th/news/134268/

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum) นิทรรศการถาวร ณ อาคารเรือนกระจก (Glass house) รวบรวมพรรณไม้สำคัญทางด้านพฤกษศาสตร์และเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพืชสาขาต่าง ๆ และประชาชน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายและส่งต่อองค์ความรู้ และความเข้าใจไปยังคนรุ่นใหม่หัวใจรักษ์โลก เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยมีการนำนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง โดยนำเชื้อไมคอร์ไรซ่ามาเพาะร่วมกับต้นกล้ายางนาและต้นราชพฤกษ์อวกาศ ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของต้นไม้

จุฬาฯ จัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี” ปี 2566

https://www.chula.ac.th/news/133872/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน “วันที่ระลึกวันทรงดนตรี”  เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 18.00 – 20.30 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี 2501 – 2516  การแสดงในปีนี้วงดนตรี CU Band วงพี่เก่า OCU Band และวงดนตรี CU Chorus ขับขานและบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์อันไพเราะที่ทรงพระราชนิพนธ์ในช่วงปี 2501 – 2516 ในงานมีการบริจาคเงินสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลดังเช่นที่ปฏิบัติมาในวันทรงดนตรี 20 กันยายน  

จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พัฒนากิจกรรม หลักสูตร รายวิชาศึกษาทั่วไปให้ความรู้ด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

https://www.chula.ac.th/news/132978/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมกันออกแบบกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาหลักสูตรและการจัดอบรมองค์ความรู้ด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วนให้มีความรู้และความสามารถรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างและพำัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไป กิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น ฯลฯ

จุฬาฯ จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในโอกาส 150 ปีนับแต่วันประสูติ

https://www.chula.ac.th/news/130794/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในโอกาส 150 ปีนับแต่วันประสูติ  ณ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยมี ศ.(กิตติคุณ) นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี   ประกอบด้วยพิธีบวงสรวงพระอนุสาวรีย์พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ตามรูปแบบประเพณีล้านนา พิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะพระอนุสาวรีย์พระราชชายา เจ้าดารารัศมี  และพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย ตามประเพณีล้านนา

งาน “Chula Grand Town Hall” อธิการบดีพบประชาคมจุฬาฯ

https://www.chula.ac.th/news/129906/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยความร่วมมือระหว่างสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์และศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ จัดงาน “Chula Grand Town Hall” อธิการบดีพบประชาคมจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว เพื่อให้ประชาคมจุฬาฯ ได้รับฟังการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านมาและทิศทางการดำเนินงานในอนาคตจาก ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ซึ่งร่วมพูดคุยและตอบคำถามจากประชาคมจุฬาฯ ด้วยบรรยากาศขที่อบอุ่นและมีความเป็นกันเอง ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล Chief Brand Officer จุฬาฯ 

อาจารย์จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566

https://www.chula.ac.th/news/128811/

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566 โดย รศ.ดร.ศุภฤกษ์ ประเสริฐธรรม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566  จากการคิดค้นและพัฒนางานวิจัย “วิศวกรรมการเร่งปฏิกิริยาเชิงคำนวณเพื่อการคัดกรองตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์และสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยใหม่ในภาคการศึกษาขั้นสูงและอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก”  

“จุฬาฯ มุ่งหน้าด้วย GENERATIVE AI” จุดยืนจุฬาฯ นำการศึกษารุดหน้าด้วย GENERATIVE AI

https://www.chula.ac.th/news/125235/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 19 เรื่อง “จุฬาฯ มุ่งหน้าด้วย GENERATIVE AI” จุดยืนจุฬาฯ นำการศึกษารุดหน้าด้วย GENERATIVE AI  เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ณ PLEARN Space ชั้น 1 อาคารเปรมบุรฉัตร โดยมี รศ.ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ Chief Learning Innovation Office จุฬาฯ และรศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาฯ เป็นวิทยากร 

ทั้งนี้ จุฬาฯ เป็นผู้นำในการบุกเบิกในเรื่องการนำนวัตกรรม AI มาใช้ในการเรียนการสอนของคณาจารย์และนิสิตอย่างเต็มรูปแบบผ่านแพลตฟอร์มและเครื่องมือต่างๆ 

Chula GenEd ยุคใหม่ อิสระ ลดกังวล ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จุฬาฯ ปรับเปลี่ยนการเรียนวิชา GenEd ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566

https://www.chula.ac.th/news/123639/

ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนการเรียนวิชาศึกษาทั่วไป (GenEd) สำหรับนิสิตจุฬาฯ เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตลงทะเบียนเรียนวิชา GenEd ได้อย่างอิสระ ลดความกังวล และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

จุฬาฯ ชูธง ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย Soft Power ไทยผ่านงานวิจัยและนวัตกรรม แนะ 2ท. หนุนพลังวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง

https://www.chula.ac.th/highlight/132705/

อาจารย์ด้านการตลาด จุฬาฯ เผยจุดแข็งและจุดอ่อนที่ผู้ประกอบการไทยและภาคส่วนต่าง ๆ ควรเร่งปรับตัวเพื่อเศรษฐกิจไทยทะยานด้วย Soft Power พร้อมเผยความพร้อมของจุฬาฯ ในการผลักดันงานวิจัย​และนวัตกรรมทางสังคม​ สร้างผู้นำแห่งอนาคตร่วมขับเคลื่อน​ Soft​ Power​ ​ไทยสู่สังคมโลก​ แนะปัจจัยสำคัญ 2 เรื่องที่จะช่วยให้ Soft Power ไทยพุ่งทะยานต่อไปในอนาคต ได้แก่ ท.ทักษะ ทางการตลาด การกระจายสินค้าและบริการ ทักษะการสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์องค์กร และ ท. ทรัพยากร งบประมาณในการสร้างและเผยแพร่ Soft Power

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า