ข่าวสารจุฬาฯ

CUiHub จัด “Chula Deep Tech Demo Day 2023” ส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพ Deep Tech สู่แถวหน้า

ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUiHub) จัดงาน “Chula Deep Tech Demo Day 2023” เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566  ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมเชิญนักลงทุนกว่า 500 คนจากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมงาน โดยมีนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ  

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะผู้นำด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ และเป็นผู้นำในการส่งเสริมนวัตกรรม การวิจัย และความเป็นผู้ประกอบการ มีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะให้มีแพลตฟอร์มอย่าง Chula Deep-Tech Demo Day เพื่อรองรับการเติบโต ความร่วมมือ และขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมของสตาร์ทอัพไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ภายในงาน “Chula Deep Tech Demo Day 2023” มีการนำเสนองานวิจัยจากกลุ่มสตาร์ทอัพ 9 กลุ่ม ได้แก่ Increbio, TannD, Hiveground, EngineLife, Baiya Phytopharm, Mineed technology, Nabsolute, CELLMIDI, CrystalLyte พร้อมเจาะลึกนโยบายการสนับสนุนและโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ สมาคม และพันธมิตรทางด้านธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการบริการในด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ระบบคลาวน์ (B2B Saas) ของไทยและซัพพลายเออร์มากมาย รวมทั้งมีการอภิปรายในหัวข้อที่เป็นกระแสและได้รับความสนใจในปัจจุบันเกี่ยวกับเทคโนโลยี Deep Tech

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “จุฬาฯ มีวิสัยทัศน์มุ่งสู่การเป็น “Chula Innovations for Society” เพื่อนำความรู้และนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์และทำให้สังคมดีขึ้น และก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย บัณฑิตจุฬาฯ ต้องมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) ควบคู่กับความรู้ทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับจากผู้จ้างงานทั่วโลก ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ การบริหารมหาวิทยาลัยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการประเด็นสาธารณะระดับชาติและโลก เพื่อสร้างสังคมแห่งอนาคตที่ดีกว่าวันนี้”

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “งาน “Chula Deep Tech Demo Day 2023” ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อกลุ่มสตาร์ตอัพ ที่เน้นเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) วัตถุประสงค์หลักคือ การให้โอกาสแก่สตาร์ตอัพที่เข้าร่วมงานได้นำเสนอและแสดงผลิตภัณฑ์ให้กับนักลงทุนที่มีศักยภาพ อีกทั้งมุ่งหวังให้เกิดการดึงดูดนักลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพของ Venture Capital (VCs) และCorporate Venture Capital (CVCs) จากทั่วโลกเข้ามายังประเทศไทย นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานยังมีโอกาสในการเชื่อมโยงกับสตาร์ตอัพและผู้เล่นสำคัญในระบบนิเวศนวัตกรรม โอกาสในการเข้าร่วมเครือข่ายกับบุคคลผู้มีอิทธิพลในระบบนิเวศนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) ระดับโลก พร้อมทั้งได้รับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์ของตลาดสตาร์ตอัพไทยในปัจจุบันอีกด้วย”

ในปี 2566 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม (Chula Innovations for Society) โดยสร้างธุรกิจเพื่อสังคมมากกว่า 100 บริษัท มีเงินระดมทุนแล้วมากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าตลาดมากกว่า 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนมากกว่า 4 ล้านคน ซึ่งภายในปี 2569 คาดว่าจะระดมทุนได้ถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าตลาดมากกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ติดตามรายละเอียดข้อมูล Chula Deep Tech Demo Day และข้อมูลงานวิจัยของสตาร์ทอัพทั้ง 9 กลุ่ม ได้ที่ https://cuinnovationhub.com/chula-deep-tech-demo-day-page/

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า