รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 ตุลาคม 2566
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.00 น.
วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2566 ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธี ในวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.00 น.
วัดปทุมวนาราม สร้างขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการเปลี่ยนท้องนาให้เป็นสระบัวสำหรับเป็นที่ประพาสในฤดูน้ำหลาก และโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งสำหรับเป็นที่ประทับแรม รวมทั้งพระอารามขึ้นในคราวเดียวกัน และได้พระราชทานวัดนี้แด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี โดยประกาศวิสุงคามสีมาสร้างวัดปทุมวนารามในปี 2400 สร้าง 4 ปีจึงแล้วเสร็จ จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุจากวัดบวรนิเวศวิหารมาเป็นเจ้าอาวาส และพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูปทุมธรรมธาดา ปัจจุบันวัดปทุมวนารามเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 18 ไร่ 9 ตารางวา
วัดปทุมวนารามมีปูชนียวัตถุสถานและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญในพระอาราม ได้แก่ พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์สมัยพระบาสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซุ้มประตูและหน้าต่างประดับลายปูนปั้นผูกเป็นหม้อบูรณะฆฏะ มีดอกปทุมชาติผลิบาน ผูกประสานสลับลายเครือเถาและลายดอกพุดตานที่ทำเป็นกรอบประตูหน้าต่างลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างงดงาม ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมที่สะท้อนให้เห็นอิทธิพลและเทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกผสมผสานกับรูปแบการเขียนภาพจิตรกรรมไทยประเพณี ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระสายน์ หล่อด้วยสำริด พุทธลักษณะตามแบบพระพุทธปฏิมาสกุลล้านช้าง นับเป็นพระพุทธปฏิมาที่งดงามด้วยพุทธลักษณะแห่งยุคทองของสกุลช่างล้านช้างอย่างแท้จริง พระวิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่กว่าพระอุโบสถ ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดทรงมณฑป ประดับลายปูนปั้นลงรักปิดทองประดับกระจก บริเวณท้ายพระวิหารในส่วนของช่องประตูกลางก่อเป็นซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธปฏิมายืนปางห้ามญาติ หล่อด้วยสำริด ภายในพระวิหารประดิษฐานพระเสริม ซึ่งมีพุทธลักษณะที่งดงามเป็นพิเศษ หล่อด้วยโลหะสำริด เบื้องหน้าพระเสริมประดิษฐานพระแสน เป็นพระพุทธปฏิมาที่สำคัญอีกองค์หนึ่งซึ่งหล่อด้วยโลหะสำริด พุทธลักษณะตามแบบพระพุทธปฏิมาสกุลล้านช้างเช่นเดียวกับพระใส สันนิฐานว่าอัญเชิญมาคราวเดียวกัน
วัดปทุมวนารามมีความสัมพันธ์อันดีกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลายด้าน อาทิ การประกอบกิจทางศาสนาในงานพิธีการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และการธำรงรักษาศิลปะและวัฒนธรรม เมื่อปี 2542 และปี 2545 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเงินจากการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานถวายเพื่อการบูรณะเรือนพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อปี 2550 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเงินจากการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานถวายเพื่อสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 2 หลัง ในเขตพุทธาวาส ณ บริเวณใกล้เรือนพระศรีมหาโพธิ์ ได้แก่ ศาลาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และศาลาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 84พรรษา และเมื่อปี 2554 และปี 2558 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเงินจากการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานถวายเพื่อสร้างเสนาสนะเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา
พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานในครั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะนำเงินที่ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมทำบุญสมทบถวายเพื่อบูรณะเสนาสนะสงฆ์โดยเสด็จพระราชกุศล ขอเชิญชาวจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญถวายพระราชกุศลผ่านบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 131-3-95521-0 หรือสแกน QR Code
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มภารกิจพิธีการและกิจการพิเศษ ศูนย์บริหารกลาง จุฬาฯ ชั้น 1 อาคารจามจุรี 2 โทร. 0-2218-0261, 0-2218-0184
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้