ข่าวสารจุฬาฯ

รู้ เข้าใจและตระหนัก “อาชญากรรมทางไซเบอร์” (Cybercrime) ป้องกันภัยคุกคามใกล้ตัว

อาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime) คือ การกระทำความผิดทางกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการก่อให้เกิดความเสียหาย และ/หรือแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อาชญากรรมทางไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ อาทิ การโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ การทำลาย-แก้ไข-ขโมยข้อมูล การหลอกลวงให้เสียทรัพย์ เป็นต้น การรู้เท่าทันอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวันจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

คุณรุ่งโรจน์ กิตติถาวรกุล

คุณรุ่งโรจน์ กิตติถาวรกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาฯ เผยถึงผลกระทบของอาชญากรรมทางไซเบอร์ว่าสามารถทำให้เกิดความเสียหายและความไม่สงบในสังคมได้ จากสถิติการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime) รูปแบบต่างๆ  ที่ติดอันดับสูงสุด 3 อันดับแรกในปี 2565 ได้แก่

1. การหลอกลวงโดยการแอบอ้าง  เป็นการหลอกลวงโดยใช้วิธีการแอบอ้างตนเองให้ดูเหมือนเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ เพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่เป็นความลับ ตัวอย่างเช่นการใช้ E-mail, SMS , Website ปลอม เพื่อหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว หรือคลิกลิงก์ที่อันตราย

2. การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล  เป็นการกระทำที่ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข ถูกทำให้เสียหาย หรือถูกนำไปเผยแพร่ต่อผู้อื่น ซึ่งอาจเกิดจากภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดจากการบุกรุก และ/หรือการโจมตีระบบผ่านทางช่องโหว่

3. การลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการ เป็นการใช้เทคนิคการหลอกลวงให้ผู้ซื้อทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์โดยไม่ได้รับสิทธิในการรับสินค้าหรือบริการตามที่ถูกตกลง ตัวอย่างเช่น หลอกให้โอนเงินและไม่ได้รับสินค้า หรือการช้อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมแท้แต่ได้ของปลอม 

 สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาฯ เน้นย้ำบุคลากรจุฬาฯ ต้องระมัดระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ 3 แบบที่พบเจอบ่อย ได้แก่ 

  • Ransomware  เป็นช่องทางที่อาจทำให้เกิดการติด Ransomware เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย การคลิกลิงค์โฆษณาที่เป็นอันตราย หรือการดาวน์โหลดไฟล์ driver จากอินเทอร์เน็ต 
  • การทำงานแบบ Hybrid  เป็นการทำงานที่ไม่ได้ล็อคหน้าจอก่อนจะลุกออกจากโต๊ะทำงาน และใช้งาน WiFi ที่ไม่รู้จัก ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮกข้อมูล การนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนตัวที่มีความเสี่ยงมาใช้ในการทำงาน (ไม่ติดตั้ง Antivirus / ไม่ได้อัปเดต Patch / เข้าเว็บไซต์เสียง) 
  • ภัยคุกคามทางสังคม  เป็นการหลอกลวงโดยอาศัยหลักจิตวิทยาให้เหยื่อหลงเชื่อ เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามที่แฮกเกอร์ต้องการ ภัยคุกคามทางสังคมใช้เทคนิคการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของเหยื่อ เพื่อให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลสำคัญ 

ผู้อำนวยการสำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศแนะวิธีป้องกันตนเองจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ ควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

  • ติดตั้งโปรแกรม Antivirus และ Update โปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ
  • สํารองข้อมูลที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ และแยกเก็บไว้อีกทีหนึ่งเพื่อความปลอดภัย
  • ไม่กดลิงก์ และไม่ดาวน์โหลดไฟล์จากอีเมลและเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย
  • ติดตามข่าวสารด้านภัยคุกคามไซเบอร์อยู่เสมอ

ทั้งนี้การรู้ เข้าใจ และตระหนักถึงอาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime) เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราป้องกันตนเองและองค์กรของเราจากการโจมตีทางไซเบอร์ สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาฯได้เตรียมความพร้อมในการรับมืออาชญากรรมทางไซเบอร์ ซึ่ง Cyber Security ได้แก่ People สร้างความรู้ความเข้าใจ Procress มีระบบที่ป้องกันที่ดี ปลอดภัย  และ Technoogy การอัปเดตเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา สำหรับชาวจุฬาฯ ที่ต้องการแจ้งข้อมูลเรื่อง Cybercrime สามารถติดต่อได้ที่สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาฯ  E-mail : help@chula.ac.th

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า