รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 ตุลาคม 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ พัฒนางานวิจัยและสร้างบุคลากรด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. เป็นประธานในพิธีลงนาม ผู้ร่วมลงนามเป็นพยาน ประกอบด้วย ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ ดร.อัจฉริยา อักษรอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ นายฉลองรัฐ ยะอนันต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานธรณีศาสตร์และการสำรวจ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และนายรังสรรค์ เพ็งพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานศึกษาและวิเคราะห์ทางเทคนิค
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพันธกิจมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปเป็นผู้นำแห่งอนาคต ตลอดจนสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมาจุฬาฯ ได้รับการสนับสนุนด้านทุนวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรทางด้านปิโตรเลียมจาก ปตท.สผ. ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพทางด้านงานวิจัย วิชาการของจุฬาฯ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวหน้า สำหรับความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาฯ กับ ปตท.สผ. ภายใต้โครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect จะช่วยต่อยอดงานวิจัยและความร่วมมือทางวิชาการระหว่างทั้งสององค์กร ตลอดจนการเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ การสนับสนุนทุนวิจัย งานสัมมนา การฝึกและการเรียนรู้นอกห้องเรียน รวมถึงหลักสูตรการศึกษาทางด้านปิโตรเลียมทางด้านงานธรณีศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม การร่วมมือในครั้งนี้ไม่ใช่แค่เพียงเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองหน่วยงาน แต่ยังเป็นการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่สังคมที่มีความยั่งยืนทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม”
คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เราเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยี จึงริเริ่มโครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect ซึ่งเป็นความร่วมมือทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย เพื่อศึกษาพัฒนางานวิจัย การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายของประเทศไทยให้ก้าวสู่การพัฒนาทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการผลักดันประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”
โครงการ PTTEP Subsurface University Energy Connect เน้นการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานธรณีศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี “CCS” (Carbon Capture and Storage) ในกระบวนการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อลดการปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้