ข่าวสารจุฬาฯ

กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือจุฬาฯ โครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) ประจำปี 2567

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมสัมพุทธเมตตาประชารักษ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพิธีเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการ จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวเปิดงานและมอบนโยบายการจัดโครงการ Care D+ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาฯ ส่งรหัสเข้าเรียนและมอบหนังสือสำคัญแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นเป็นการสาธิตเทคนิคการสื่อสารขั้นสูงด้วยแนวทาง Care D+ โดยวิทยากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การวิเคราะห์และอภิปรายกรณีศึกษา โดยวิทยากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุข ปิดท้ายด้วยการแบ่งปันประสบการณ์และความท้าทายในงานสื่อสารในโรงพยาบาล โดยวิทยากรจากกระทรวงสาธารณสุข

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าการสร้างความเข้าใจ ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ป่วยญาติและบุคลากรทางการแพทย์ โดยการสร้างทีมประสานใจ หรือ Care D+ เป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยให้ได้รับทราบถึงขั้นตอนแนวทางการรักษาพยาบาล ลดความไม่เข้าใจระหว่างกันที่อาจจะเกิดขึ้นกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเรื่องการสื่อสารอย่างเข้าอกเข้าใจ (Emphatic Communication) ในภาคการดูแลสุขภาพร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 โดยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรมาตรฐาน Care D+ เพื่อยกระดับคุณภาพการสื่อสารในภาคการดูแลสุขภาพอบรมบุคลากรสาธารณสุขให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการสื่อสารมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารจัดการภาวะวิกฤตทางการสื่อสาร (Crisis Communication Management) และการสื่อสารด้วยความเข้าใจเชื่อมอารมณ์ความรู้สึกกัน (Emphatic Communication) ซึ่งจะทำให้ทีม Care D+ สามารถรับฟังผู้ป่วยและญาติอย่างเข้าใจและเห็นอกเห็นใจสามารถบริหารจัดการหรือตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องช่วยลดความไม่เข้าใจกันหรือความขัดแย้งระหว่างกันลงได้ การอบรมมีทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม cug.academy โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและจิตวิทยาจากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป โดยภายในเดือนธันวาคมนี้จะมีทีม Care D+ 1,000 คน และจะครบ 10,000 คน ตามเป้าหมายภายในเดือนเมษายน 2567 โดยจะมีการประเมินผลการอบรมและปรับปรุงหลักสูตรการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้สามารถสื่อสารประสานใจสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันได้อย่างดี

ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะจุฬาฯ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรมาตรฐาน Care D+ เป็นการสื่อสารในการสร้างความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติเพื่อให้รู้สึกคลายกังวล สร้างความเข้าอกเข้าใจให้กับประชาชน ทำให้ประสิทธิภาพในการบริการประชาชนทำได้สูงสุด โดยหลักสูตร 7 บทเรียนจะมีทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ หลังจากนั้นก็จะมีการสอบวัดผลด้วย

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า