รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 พฤศจิกายน 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
ศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานวิจัยที่อาจารย์ทุ่มเทศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นองค์ความรู้ใหม่ด้านคลินิกเกี่ยวกับการดูแล รักษา และป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในเด็กและเยาวชน
ศ.พญ.ธันยวีร์ เผยว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สิ่งสำคัญกว่ารางวัลที่ได้รับก็คือการทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับโรคเอดส์ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV – Human Immunodeficiency Virus) ได้รับการเผยแพร่เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ทันสมัยและ ตระหนักรู้ว่า การติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันมีแนวทางในป้องกัน และรักษาที่ก้าวหน้าไปอย่างมาก โดยหวังว่าจะช่วยทำให้คนทั่วไปได้เข้าใจและรับทราบว่า ปัจจุบันผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องด้วยยาต้านไวรัส จะไม่เจ็บป่วยเป็นโรคเอดส์ ไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัสให้กับคนอื่นๆ รวมถึงมีสุขภาพดี ไปโรงเรียน ทำงาน มีครอบครัวมีบุตร อายุยืนยาวได้ เมื่อเข้าใจและยอมรับในประเด็นนี้แล้ว หวังว่าการตีตราหรือเลือกปฏิบัติต่อผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีในสังคม จะลดลงได้
“องค์ความรู้ในปัจจุบัน อย่างเช่น เด็กอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี เมื่อได้ทานยาต้านไวรัส สามารถควบคุมไวรัสในร่างกายได้ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังเริ่มยา หลังจากนั้นยังต้องกินยาต้านไวรัสต่อเนื่องทุกวันเพื่อควบคุมไวรัสไว้ ไม่ให้มาทำลายเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เด็กที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีตั้งแต่วัยทารก สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีครอบครัวได้ โดยไม่ส่งต่อเชื้อให้คู่สามีภรรยาหรือบุตร” ศ.พญ.ธันยวีร์ กล่าว
ศ.พญ.ธันยวีร์ เล่าย้อนไปถึงช่วงปี พ.ศ. 2539-2545 ที่อาจารย์เริ่มเรียนด้านกุมารแพทย์และเริ่มสนใจทำงานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาเด็กและเยาวชนที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ณ ช่วงเวลานั้น การติดเชื้อเอชไอวี ถือเป็นโรคที่รุนแรง เนื่องจากยังไม่มียารักษา ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันสั้น จากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่เกิดตามหลังภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เวลานั้นประเทศไทยมีเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวนมาก โดยเฉพาะเด็กทารกที่ได้รับเชื้อจากแม่สู่ลูกรายใหม่ ปีละหลายพันคน จึงได้มาทำการศึกษาวิจัยทางคลินิก กล่าวคือ การนำความรู้จากงานวิจัยพื้นฐานด้านไวรัสวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา เภสัชวิทยา และระบาดวิทยามาต่อยอดทำงานวิจัย นำยาต้านไวรัสสูตรต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการรักษาเด็กอยู่ร่วมกับเอชไอวีในประเทศไทย โดยมีแรงบันดาลใจจากการร่วมงานวิจัยกับเครือข่ายนักวิจัยใน สหรัฐอเมริกา และ กลุ่มประเทศแถบยุโรป ที่มีการวิจัยพัฒนาที่ก้าวหน้า รวมทั้งได้ทำวิจัยร่วมกับองค์การเภสัชกรรม โดยการใช้ยาต้านไวรัสที่ผลิตได้เองในประเทศไทย ทำให้เด็กอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าถึงยาได้ทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาสูตรยาต้านไวรัส จากที่ต้องรับประทานวันละหลายครั้ง หลายเม็ด จนในปัจจุบันเป็นยาต้านไวรัสเม็ดรวม รับประทานวันละครั้ง ทำให้สามารถใช้ได้ง่าย ประสิทธิภาพดี สามารถใช้ได้กับเด็กในไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น
“เด็กอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี หลายคน ที่หมอดูแลมาตั้งแต่เล็ก ตอนนี้อายุ 30 กว่าแล้ว บางคนทำงาน บางคนมีครอบครัวมีลูก เป็นความภาคภูมิใจที่เรามีส่วนช่วยวิจัยพัฒนายาต้านไวรัสและแนวทางการรักษาใหม่ๆ ทำให้โรคที่เราเคยคิดว่ารักษาไม่ได้ เคยเป็นที่รังเกียจ ปัจจุบันสามารถรักษาได้ และเด็กสามารถเติบโตขึ้นมาเป็นเยาวชนที่มีอนาคตที่ดีได้” ศ.พญ.ธันยวีร์กล่าว
การรักษาที่ ศ.พญ.ธันยวีร์ ได้ร่วมวิจัยพัฒนาและเก็บรวบรวมข้อมูลกับเครือข่ายทีมวิจัยต่าง ๆ นอกจากจะได้รับการนำไปใช้ในแนวทางการรักษาเด็กในประเทศไทยแล้ว สูตรยาต่าง ๆ ที่อาจารย์ได้ทำการวิจัยพัฒนาร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ยังได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และนำไปใช้ในประเทศอื่น ๆ ด้วย สอดคล้องกับเป้าหมายระดับนานาชาติเรื่องของการยุติโรคเอดส์ ซึ่ง ตั้งเป้าไว้ในปี พ.ศ 2573 ว่า ผู้ได้รับเชื้อเอขไอวีรายใหม่จะต้องน้อยลง ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ อัตราเสียชีวิตจะต่ำลงไปอีกมาก
“ อีกเรื่องที่สำคัญคือเรื่องของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ในสมัยก่อน หากหญิงตั้งครรภ์อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี โอกาสที่ลูกจะได้รับเชื้อด้วยนั้นมีสูงถึงร้อยละ 25-30 แต่ปัจจุบันการรักษาด้วยยาต้านไวรัสให้กับหญิงตั้งครรภ์ ทำให้โอกาสที่ลูกจะได้รับเชื้อด้วย ต่ำกว่าร้อยละ 1 เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่อยากเผยแพร่ให้ทราบกันในภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อครอบครัวของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยจากโรคอื่น ๆ ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ” ศ.พญ.ธันยวีร์ กล่าว
ปัจจุบัน ศ.พญ.ธันยวีร์ ยังคงทำงานวิจัยทางคลินิกในการรักษาและดูแลเยาวชนที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี การดูแลในเรื่องของการรักษา จากเดิมที่เป็นยารับประทานวันละครั้ง ปัจจุบันเริ่มมีงานวิจัย ยาต้านไวรัสชนิดฉีดทุกสองเดือน หรือ ทุกหกเดือน เป็นต้น รวมทั้งเรื่องของการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จากเดิมที่เน้นในเรื่องการป้องกันทารกที่อาจจะรับเชื้อจากคุณแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือการคลอด ก็มาเน้นในเรื่องของกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ซึ่งกลายเป็นกลุ่มหลักในการรับเชื้อเอชไอวี ให้เยาวชนได้เรียนรู้ที่จะมีสุขภาวะทางเพศที่ดี รู้จักป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ โดยการใช้ถุงยางอนามัย รวมทั้งการให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ที่เรียกกันว่า “ยาเพร็พ” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่อาจารย์และทีมวิจัยทำร่วมกับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
“เมื่อครั้งที่ยังเรียนอยู่ อาจารย์จะคอยสอนเสมอว่าโรคติดเชื้อในแต่ละประเทศนั้นไม่เหมือนกัน บริบทของระบบสาธารณสุข และ สังคมก็แตกต่างกัน เราจะเป็นหมอโรคติดเชื้อที่ดีได้ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องทำงานวิจัยเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของเรา ประเทศไทยถือว่ามีทรัพยากรที่ช่วยสนับสนุนในด้านการวิจัยในระดับที่ดีมาก ในระยะแรก ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยทางคลินิก เรามักจะคุ้นชินว่าหมอและพยาบาลมีหน้าที่รักษาโรคเพียงอย่างเดียว อาจจะยังไม่เข้าใจว่าการทำงานวิจัยทางคลินิกคืออะไร ซึ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาศักยภาพทางงานวิจัยของประเทศไทยเรานับว่าดีขึ้นเรื่อย ๆ มีคนที่ทำงานวิจัยเป็นอาชีพ มีหลักสูตรที่สอนเกี่ยวกับการทำงานวิจัยทางคลินิกเพิ่มมากขึ้น ส่วนตัวไม่ได้มองว่าเป็นอุปสรรค แต่ต้องช่วยกันพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ มากกว่า หลักสำคัญในการทำวิจัย คือเราต้องรู้ลึกและรู้จริงในเรื่องนั้น ๆ ในหัวข้อที่เราสนใจหรืออยากจะพัฒนาสร้างความเปลี่ยนแปลง และจำเป็นที่จะต้องทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจทำงาน กับทีมวิจัยสหสาขาวิชาชีพ รวมถึง เครือข่ายวิจัยนานาชาติเข้ามาทำงานร่วมกัน จึงจะประสบความสำเร็จ และเกิดประโยชน์ในวงกว้าง” ศ.พญ.ธันยวีร์ กล่าวในที่สุด
นิสิต BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน Alberta International Business Competition 2024 ที่แคนาดา
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันแผนการตลาดระดับอุดมศึกษา J-MAT AWARD ครั้งที่ 33
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้