รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 พฤศจิกายน 2561
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
การสร้างสรรค์ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประเทศชาติ เป็นหนึ่งในพันธกิจของคณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตในมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ “เสื้อเกราะกันกระสุน จามจุรี” ผลงานของอัฐวุฒิ ผลาสินธุ์ นิสิตปริญญาโทหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยจากฝีมือนักวิจัยไทยที่ผ่านการศึกษาวิจัยและทดสอบแล้วว่าได้มาตรฐาน ราคาถูกกว่าเสื้อเกราะที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่สำคัญคือเป็นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งได้มีการส่งมอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเร็วๆนี้
รศ.ดร.เสกศักดิ์ อัสวะวิสิทธิ์ชัย ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงที่มาของการพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุน “จามจุรี” ว่า ภาควิชาฯ ได้ศึกษาวิจัยเรื่องเกราะกันกระสุนในรูปแบบต่างๆมาหลายปีแล้ว ทั้งเกราะกันกระสุนสำหรับยานพาหนะ เกราะสำหรับโครงสร้างอาคาร สามารถกันกระสุนได้ในระดับความรุนแรงต่างๆ สำหรับเกราะกันกระสุน “จามจุรี” มีลักษณะเป็นเสื้อเกราะสำหรับให้คนสวมใส่ ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงเหตุการณ์การประท้วงต่างๆซึ่งมีความรุนแรงเกิดขึ้น ทั้งการลอบยิง การวางระเบิด ทำให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในเหตุการณ์ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ เป้าหมายของการวิจัยจึงมุ่งพัฒนาเสื้อเกราะกันกระสุนที่ใช้วัสดุในประเทศที่หาได้ง่าย มีราคาถูก เนื่องจากเสื้อเกราะกันกระสุนที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงมาก
“เสื้อเกราะกันกระสุนที่ทำจากแผ่นเหล็กหนาๆ ก็สามารถกันกระสุนได้ แต่น้ำหนักจะมาก ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่ใส่เสื้อเกราะไม่สะดวกเวลาวิ่งหรือเดิน เสื้อเกราะกันกระสุนที่ดีมีประสิทธิภาพต้องบาง เบา และราคาถูก ส่วนใหญ่เสื้อเกราะกันกระสุนที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพง ตัวละ 20,000 บาทขึ้นไป ทำจากวัสดุเคฟลาร์และอายุการใช้งานจำกัด เพียง 5 ปี ประสิทธิภาพจะลดลงเหลือ 60% ที่ผ่านมามีหลายมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยที่ทำเสื้อเกราะกันกระสุนแต่ราคายังคงสูงอยู่ เกราะกันกระสุนที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้นนั้นมีราคาถูก เพียง 5000 – 6000 บาทเท่านั้น ที่สำคัญคือมีคุณภาพ สามารถป้องกันกระสุนได้ตามมาตรฐาน โดยผ่านมาตรฐานการทดสอบ NIJ ของสหรัฐอเมริกา ในระดับ 2A สำหรับปืนพกขนาดเล็กทั่วไป ซึ่งเหมาะกับการใช้งานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ” รศ.ดร.เสกศักดิ์ กล่าว
สำหรับวัสดุที่ใช้ในการทำเสื้อเกราะกันกระสุนนั้น รศ.ดร.เสกศักดิ์ ให้ข้อมูลว่า เป็นวัสดุที่มาจากภายในประเทศทั้งหมด ทำให้มีราคาถูก ประกอบด้วยวัสดุผสม 3 ชนิด ได้แก่ แผ่นเหล็กกล้าไร้สนิม แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ และแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ ซึ่งได้ขอรับบริจาคแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ที่ใช้แล้วจากโรงพยาบาล ในการผลิตเสื้อเกราะจะเน้นให้ใช้วัสดุน้อยที่สุด ทำให้ได้เกราะที่บางที่สุด น้ำหนักน้อยที่สุด ต้นทุนก็จะต่ำที่สุด แต่ต้องสามารถกันกระสุนได้ตามมาตรฐาน โดยมีการทดสอบโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ ผ่านการทดสอบวิจัยเชิงลึกด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีความถูกต้องในการทดสอบด้วยโมเดลถึง 95% เป็นจุดเด่นของงานวิจัยเสื้อเกราะกันกระสุนจามจุรี
“เราไม่อยากจะทำงานวิจัยที่ขึ้นหิ้ง งานวิจัยนี้นอกจากจะมีการตีพิมพ์ในงานวิชาการระดับนานาชาติแล้ว เราอยากจะนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง” รศ.ดร.เสกศักดิ์ เผยถึงเหตุผลที่นำเสื้อเกราะกันกระสุน จามจุรีไปมอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อส่งต่อให้ สน.ปทุมวัน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนำไปใช้ปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง เป็นการลดความเสี่ยง เพิ่มความอุ่นใจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ
นายอัฐวุฒิ ผลาสินธุ์ นิสิตปริญญาโทหลักสูตรวิศวกรรมและเทคโนโลยีการป้องกันประเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้วิจัยคิดค้น “เสื้อเกราะจามจุรี” เปิดเผยว่า เสื้อเกราะกันกระสุนที่มอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจำนวน 10 ชุด ใช้งบประมาณในการจัดทำเฉพาะค่าวัสดุไม่เกินตัวละ 3,000 บาท ขั้นตอนการจัดทำ เริ่มจากการนำแผ่นเหล็กมาทำการดัดโค้งให้สอดรับกับตัวเสื้อและสรีระร่างกาย จากนั้นจึงนำแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์และฟิล์มเอกซเรย์มาประกบกัน โดยใช้กาวชนิดพิเศษ ให้วัสดุติดประสานกัน การจัดทำตามขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ใช้เวลา 2 วันต่อเสื้อเกราะหนึ่งตัว ขั้นตอนที่ยากที่สุดคือ วิธีการทำให้วัสดุต่างๆ ยึดติดกันดี แผนงานในอนาคตจะทำการต่อยอดหาวัสดุอื่นเพื่อพัฒนาเสื้อเกราะให้สามารถกันกระสุนได้ในระดับความรุนแรงที่สูงขึ้น เพิ่มขีดความสามารถให้ทหารได้ใช้งานได้ด้วย
“ดีใจมากครับที่งานวิจัยที่เราทำและได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ได้ผ่านการทดสอบแล้วว่าได้มาตรฐาน มีการนำไปใช้ปฏิบัติงานจริงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นความภาคภูมิใจมากครับ” อัฐวุฒิ กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำเร็จในการทำงานวิจัยครั้งนี้
รศ.ดร.เสกศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเสื้อเกราะกันกระสุนที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้นได้มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตรแล้ว ซึ่งต้องใช้เวลา 6 เดือน – 1 ปี เมื่อนึกถึงเกราะกันกระสุน คน ส่วนใหญ่จะคิดว่ามีลักษณะเป็นแผ่น แต่จริงๆแล้วเกราะกันกระสุนมีการใช้งานในหลายระดับ นอกจากงานวิจัยที่เกี่ยวกับด้านความมั่นคงเช่นเสื้อเกราะกันกระสุน หรือเกราะป้องกันกระสุนในรูปแบบอื่นๆที่มีความหลากหลายแล้ว ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยังมีงานวิจัยอื่นๆที่น่าสนใจที่นำมาประยุกต์ในเชิงอุตสาหกรรม เช่น โฟมโลหะ ซึ่งเป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแรง การผลิตชิ้นส่วนที่ทำจากผงโลหะ เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้