รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 พฤศจิกายน 2566
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วมกับภาคีพัฒนาต่อยอดเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ ชูอัตลักษณ์ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนา นำร่องล้านนาซอฟต์พาวเวอร์ ขับเคลื่อนเมืองทุกมิติด้วยงานเทศกาล คาดเงินสะพัด 400 ล้านบาท
หน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาต่อยอดงานเทศกาล ยี่เป็งเชียงใหม่ ปี 2566 ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น และกำหนด “ยุทธศาสตร์ 12 เดือน 12 เทศกาล” เพื่อใช้งานเทศกาลนี้เป็นกลไกการพัฒนาการท่องเที่ยวและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัด
งานเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ “ค่ำคืนแห่งสายนที วิถีแห่งวัฒนธรรม” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 28 พฤศจิกายน 2566 การต่อยอดงานเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สมาคมการค้าวิศิษฏ์ล้านนาเพื่ออุตสาหกรรมไมซ์และการท่องเที่ยว บริษัท NIANTIC, INC. ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เพื่อร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเที่ยวงานยี่เป็ง สร้างความแตกต่างให้นักท่องเที่ยวช่วงเทศกาลลอยกระทงของไทย โดยชูจุดขายการย้อนวัฒนธรรมยี่เป็งแห่งล้านนา เล่าเรื่องผ่านกิจกรรมวิถีถิ่น เช่น การจุดผางประทีป ล่องสะเปา จัดทำเส้นทางเดินชมเมืองเชียงใหม่ยามค่ำคืน ตอกย้ำความเป็นเมืองแห่งเทศกาลและอีเวนต์โลก จากสมาคมเทศกาลนานาชาติ (International Festival and Event Association,IFEA) และประกาศความพร้อมตอบนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย สร้างรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง
เป้าหมายของการพัฒนางานเทศกาลยี่เป็งปีนี้คือการสร้างประสบการณ์พิเศษเฉพาะที่และเฉพาะเวลา เพื่อดึงดูดให้นักเดินทางจากทั่วประเทศและทั่วโลกมาเยือนเชียงใหม่ในเทศกาลยี่เป็ง เป็นการกระตุ้นให้ผู้คนในยุคดิจิทัลออกเดินทางมายังจังหวัดเชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอคุณค่าและอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมชาวเชียงใหม่ในฐานะ Lanna soft power ภายใต้แนวคิด “เทศกาลแห่งแสงไฟที่สะท้อนวิถีชีวิตล้านนาอย่างร่วมสมัย” ในระหว่างงานเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ ปี 2566 จังหวัดเชียงใหม่และภาคีได้ร่วมกันประดับประดาไฟตามประเพณีในพื้นที่สาธารณะและเส้นทางในเมือง (Yi-Peng Illumination) จัดกิจกรรมชมเมืองยามแลง (Yi-Peng Night Tour) ที่จะพาผู้มาเยือนไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัด และชุมชนที่มีการจัดกิจกรรมพิเศษในระหว่างการจัดงาน นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนในการจัดเตรียมสินค้าและบริการที่มีเฉพาะในเทศกาลยี่เป็ง (Yi-Peng Product) เช่น อาหาร ผลิตภัณฑ์สปา เสื้อผ้า ของใช้หัตถกรรมต่างๆ ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนในช่วงเทศกาล
ไฮไลท์สำคัญหนึ่งของงาน คือการร่วมมือกับบริษัท Niantic, Inc. ผู้เป็นเจ้าของเกม Pokémon GO ในการพัฒนาเส้นทางพิเศษ (route) ภายในเกมที่จะเปิดให้บริการขึ้นในช่วงเทศกาลครั้งนี้ (Pokémon GO x Yi-Peng) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่เกม Pokémon GO จะร่วมมือกับเทศกาลท้องถิ่นในการสร้างประสบการณ์ใหม่ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งนับได้ว่าเป็นนวัตกรรมและปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในการจัดงานเทศกาลประจำเมืองในประเทศไทย
ผู้สนใจเข้าร่วมเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ 2566 สามารถค้นหาข้อมูลตารางกิจกรรมและไฮไลท์สำคัญของงานเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/Visitlanna
เว็บไซต์ : https://www.visitlannaassociation.com/yipeng
แพลตฟอร์ม TAGTHAi : ม่วนใจ๋พาส
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้