ข่าวสารจุฬาฯ

“การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่” ผลงานวิจัยระดับดี จาก วช. ปี 2567

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจำนวนมาก  การใช้ชีวิตของผู้สูงวัยที่จะต้องปรับตัวเรียนรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมดิจิทัลเป็นประเด็นที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้ สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่”  ซึ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2567  

รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา

รศ.ดร.พนม ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่องนี้เปิดเผยว่าผลงานวิจัยเรื่องนี้ดำเนินการโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)  เป็นการสร้าง Active Aging  สร้างโอกาสจากดิจิทัล ผ่านการศึกษาและวิจัย เพื่อหาวิธีการที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในสังคมดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทางรายได้ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงนโยบายช่วยเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้สูงอายุในสังคมดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในสังคมดิจิทัลได้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงมุมมองของผู้สูงอายุในยุคนี้ โดยผู้สูงอายุต้องมองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี วิถีชีวิตใหม่ และความแตกต่างทางวัย การเป็นผู้สูงอายุที่ใช้เทคโนโลยีได้นั้นจะต้องมีการสร้างแพลตฟอร์ม สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย เข้าถึงสวัสดิการรัฐบนออนไลน์ และต้องมีการสร้างความภาคภูมิใจก่อนที่จะสร้างรายได้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสร้างความมั่นคงทางรายได้จากเทคโนโลยี     

ผลงานวิจัยเรื่องนี้ได้เสนอหลากหลายวิธีการ เช่น การให้ความรู้ การสร้างแพลตฟอร์ม การสร้างคอนเทนต์ในโลกดิจิทัล การสร้างความภาคภูมิใจก่อนที่จะสร้างรายได้ และการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในกลุ่มผู้สูงอายุ  

รศ.ดร.พนมได้ฝากข้อคิดสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ในการทำงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จว่า “ในการทำงานวิจัยควรมองปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน งานวิจัยครั้งนี้เกิดจากการมองเห็นปัญหาช่องว่างระหว่างวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัล ซึ่งผลงานวิจัยสามารถนำไปเป็นนโยบายในการบริหารจัดการกระบวนทัศน์ต่อผู้สูงวัยในปัจจุบันและในอนาคต”

ในอนาคต รศ.ดร.พนมได้วางแผนการทำงานวิจัยและการผลิตงานโปรดักชั่น เช่น การเผยแพร่คลิปวิดีโอที่สะท้อนมุมมองปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรูปแบบ “ราโชมอน”  โดยเสนอการเล่าเรื่องในลักษณะ “มองต่างมุม” ผ่านสถานการณ์ที่ความจริงถูกรับรู้แตกต่างกัน หรือถูกเล่าออกมาจากหลายมุมมอง แล้วเกิดขัดแย้งหรือหักล้างกันเอง’ รวมทั้งร่วมศึกษาจากปัญหาในพื้นที่จริงในมิติที่ยังไม่เคยมีใครนำเสนอมาก่อน 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า