รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 ธันวาคม 2566
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กลับมามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน หากเราย้อนไปดูสถิติหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา จะพบว่าหลายๆ ประเทศมีตัวเลขจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดย 5 อันดับแรกของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ “โรคหนองใน” (Gonorrhea) มีผู้ติดเชื้อมาเป็นอันดับที่หนึ่ง
“ GoCheck” (โกเช็ค) ดีเอ็นเอชิพอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการตรวจวัดสารพันธุกรรมโรคหนองในแท้แบบรู้ผลเร็วใน 15 นาที คือนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย ดร.อับดุลฮาดี ยะโก๊ะ และ ดร.สุดเขต ไชโย จากสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อแก้ปัญหาหรือ pain point ของการตรวจคัดกรองโรคหนองในแท้โดยเฉพาะ นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณผลงานประดิษฐ์คิดค้น สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2567
“โปรเจกต์นี้เริ่มมาตั้งแต่ก่อนที่จะมีโควิด เราเคยได้มีโอกาสได้ไปพูดคุยกับคุณหมอที่ดูแลศูนย์กามโรคที่บางรัก และพบปัญหาเรื่องการขาดแคลนเครื่องมือตรวจโรคเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เดิมเครื่องมือที่ใช้ตรวจจะมีขนาดใหญ่ มีราคาสูง ใช้เวลานานในการตรวจ และค่อนข้างที่จะเข้าถึงได้ยาก จึงเป็นที่มาของการพัฒนานวัตกรรมนี้” ดร.อับดุลฮาดี กล่าวถึงที่มาของงานนวัตกรรม
ทีมวิจัยได้พัฒนาในส่วนของวิธีการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้า โดยเลือกใช้ตัวตรวจวัดชนิด DNA Bio-sensor สำหรับใช้ตรวจวัดสารพันธุกรรมโดยเฉพาะ หลักการคือใช้ดีเอ็นเอที่มีความสามารถในการตรวจจับ มาจับกับดีเอ็นเอของโรคหนองในแท้ที่เข้าคู่กัน ร่วมกับวิธีการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ คือใช้ อิเลกทรอนิกส์ชิพ ที่มีลักษณะเป็นแผ่นการ์ดขนาดเล็กเทียบเท่านามบัตร นอกจากนี้ในส่วนของวิธีการตรวจวัด ทางทีมก็ได้พัฒนากระบวนการให้มีการขยายสัญญาณการตรวจวัดที่เพิ่มมากขึ้นด้วย และเมื่อขยายสัญญาณได้ดีในระดับหนึ่ง ก็ช่วยลดระยะเวลาการตรวจวัดให้สั้นลง จากเดิมที่เป็นวิธีมาตรฐานทั่วไปจะใช้ระยะเวลาประมาณประมาณ 2-3 ชั่วโมง แต่ด้วยนวัตกรรมนี้ที่มีวิธีการขยายสัญญาณการตรวจ จึงสามารถลดเวลามาได้เหลือเพียง 15 นาทีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่สำคัญของนวัตกรรมชิ้นนี้
สำหรับวิธีการตรวจวัด จะใช้สารดีเอ็นเอ หยดลงไปบริเวณแถบตรวจสารพันธุกรรม พร้อมน้ำยาตรวจวัดลงไปให้ทำปฏิกิริยาภายใน 15 นาที ก่อนนำแถบตรวจไปเสียบเข้ากับตัวอิเลกทรอนิกส์ชิพ ดร.อับดุลฮาดี อธิบายว่าการทำงานก็จะคล้าย ๆ กับชุดตรวจน้ำตาล และใช้สมาร์ทโฟนเป็นตัวติดตามผ่านเทคโนโลยีไร้สายชนิด NFC เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงสัญญาณที่เกิดขึ้น หากพบหรือไม่พบดีเอ็นเอของโรคหนองในแท้ ก็จะสามารถทราบและติดตามผลได้ทันทีจากสมาร์ทโฟน
“รู้สึกเป็นเกียรติที่ทาง วช. เห็นคุณค่าและความสำคัญของงานวิจัยที่เราทำอยู่ ปัจจุบัน GoCheck อยู่ในระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร และตัวชิ้นงานเองก็ยังต้องมีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น รวมถึงจะมีการขยายองค์ความรู้ที่เรามีไปยังการตรวจวัดโรคอื่น ๆ ถ้าเราทราบลำดับที่แน่นอนของสารพันธุกรรมของโรค เราก็สามารถออกแบบ DNA ที่จำเพาะกับสารพันธุกรรมที่ต้องการจะตรวจวัดได้ ตอนนี้เรากำลังโฟกัสไปที่โรคฝีดาษลิง ซึ่งกำลังระบาด และสถานการณ์ค่อนข้างน่าเป็นห่วง” ดร.อับดุลฮาดี กล่าว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้