รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 พฤศจิกายน 2561
ข่าวเด่น
ทีมนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาธรณีวิทยา ในงาน Asia Geoscience Student Conference & Exhibition (AGSCE) ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการสำหรับนิสิตนักศึกษาทางด้านธรณีศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย ประกอบด้วย ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม และประเทศไทย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 – 30 ตุลาคม 2561 ณ Universiti Teknologi Petronas รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย
การแข่งขันตอบปัญหาด้านธรณีวิทยา (Geoquiz Competition) ครอบคลุมความรู้ด้านธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี แร่วิทยา ธรณีวิทยาโครงสร้าง ตะกอนวิทยา ธรณีวิทยาปิโตรเลียม และความรู้ทั่วไป มีผู้เข้าแข่งขันกว่า 28 ทีมๆละ 3 คน แบ่งการแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 รอบ โดยนิสิตทีม A ประกอบด้วย นายธรรมปพน สรรพอุดม นายผดุงผล จิโนการ และ นางสาวศรีอมรา มีพริ้ง นิสิตชั้นปี 3 ได้รับรางวัลชนะเลิศ (champion prize)
และนิสิตทีม B ประกอบด้วย นายพิชญ โหตรภวานนท์ และนายพงษ์ภัทร์ ชิ้นอร่ามรุ่งเรือง นิสิตชั้นปี 4 และนายอนุภัทร วิจิตรบรรจงดี นิสิตชั้นปี 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง (2nd runner up prize)
การแข่งขันจัดแสดงหินโผล่ (Outcrop Exhibition Competition) มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 18 ทีม แต่ละทีมจะต้องเตรียมแบบจำลองหินโผล่บริเวณพื้นที่ศึกษาใดก็ได้มาจัดแสดง พร้อมทั้งข้อมูลงานวิจัย ตัวอย่างหิน ผลการวิเคราะห์จากห้องทดลอง และข้อมูลอื่นๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาหินโผล่ โดยหินโผล่ ที่นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ นำมาจัดแสดงคือ เขาใหญ่ ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนใน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี การแข่งขันครั้งนี้ ตัวแทนนิสิตภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาฯ ประกอบด้วย นายพิชญ โหตรภวานนท์ นิสิตชั้นปี 4 นายวศิน มีสวย นางสาวกรรณิกา หวังฤทธิไกรกุล นายณัฐวุฒิ ทรัพย์ไพบูลย์ และนายธรรมปพน สรรพอุดม นิสิตชั้นปี 3 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง (2nd runner up prize)
จุฬาฯ จับมือสมาคมกีฬาเเบดมินตันเเห่งประเทศไทยฯ ร่วมมือทางวิชาการ พัฒนาศักยภาพบุคลากรทางวิทยาศาสตร์การกีฬาสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จับมือภาคีเครือข่ายเปิดค่ายภาพยนตร์และหลักสูตรออนไลน์ เสริมพลัง Soft Power ไทย
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดเวิร์กช็อป “รัก ร้อง เล่น ตัดปะ: วรรณคดีไทยสร้างสรรค์ กับการสรร(ค์)สร้างการเรียนรู้”
13-15 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00-16.00 น.
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
อธิการบดีจุฬาฯ ประธาน ทปอ. เป็นประธานการประชุมสามัญ ทปอ. และสมาคม ทปอ. ครั้งที่ 2/2568 และการประชุมสามัญ สออ.ประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
เชิญร่วมงาน iCAF 2025 งานแฟร์ครบรอบ 20 ปีหลักสูตรนานาชาตินิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมงานเสวนาวิชาการ หลักสูตร ZEN “ถอดรหัสการตลาดแบบญี่ปุ่น: ความลับเบื้องหลังความสำเร็จอย่างยั่งยืนตลอด 100 ปี”
24 เมษายน 2568 เวลา 13.00 - 15.30 น. ห้อง CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 ชั้น 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้