รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 ธันวาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
จากขั้วโลกเหนือสู่ขั้วโลกใต้ นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมทีมนักวิจัยจีนศึกษาวิจัยทวีปอาร์กติกและแอนตาร์กติก ชี้ผลกระทบภาวะโลกร้อนทำน้ำแข็งละลายมากขึ้น แนวโน้มขั้วโลกเหนืออาจถึงขั้นวิกฤติ พร้อมเดินหน้าส่งทีมสู่ขั้วโลกใต้เพื่อศึกษาต่อเนื่อง
จากการที่ประเทศไทยได้ส่งนักวิจัยไทยไปร่วมวิจัยกับประเทศจีนทั้งที่ขั้วโลกเหนือ (อาร์กติก) และขั้วโลกใต้ (แอนตาร์กติก) ภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สองนักวิจัยไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กลับมาจากการไปสำรวจที่อาร์กติก พบภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งละลายมากขึ้น และในเดือนมกราคมในปีหน้าทางโครงการฯ เตรียมส่งนักวิจัยมุ่งหน้าสู่แอนตาร์กติก ขยายผลศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อระบบนิเวศแอนตาร์กติกต่อเนื่อง
อ.ดร.สุจารี บุรีกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยนายอานุภาพ พานิชผล นักวิจัยจากสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางไปอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) พร้อมกับคณะสำรวจอาร์กติกจากประเทศจีนรุ่นที่ 13 เป็นเวลา 3 เดือน และได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย โดยนักวิจัยได้ทำการสำรวจเก็บตัวอย่าง ตะกอนดิน น้ำทะเล และ ปลา เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของมลพิษ เช่น ไมโครพลาสติก และการหมุนเวียนของคาร์บอนของน้ำทะเลบริเวณขั้วโลก
นักวิจัยไทยทั้งสองคนได้เดินทางโดยเรือตัดน้ำแข็งชื่อ “ซูหลง 2” ของประเทศจีน ซึ่งในปีนี้เป็นปีแรกที่คณะสำรวจของประเทศจีนสามารถเดินทางไปถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ แสดงให้เห็นว่าน้ำแข็งที่ขั้วโลกในปีนี้บางลงกว่าปีก่อนๆ มาก เนื่องจากน้ำแข็งที่หายไปสามารถคืนกลับมาได้น้อยลง ทำให้เรือตัดน้ำแข็งสามารถเดินทางเข้าไปสู่จุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้ไม่ยากนัก ในระหว่างการเดินทาง นักวิจัยจากประเทศจีน รัสเซีย และไทยรวมหนึ่งร้อยชีวิตในเรือตัดน้ำแข็ง ได้ร่วมกันสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ขั้วโลกเหนือ โดยได้มีการเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด เพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในระหว่างทางนักวิจัยยังได้เห็นหมีขาว วอลรัส และวาฬนำร่อง ซึ่งสัตว์เหล่านี้อาจจะได้รับผลกระทบจากการที่น้ำแข็งละลายอีกด้วย
อ.ดร.สุจารี บุรีกุล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “การเดินทางในครั้งนี้ นอกจากจะศึกษาไมโครพลาสติกที่สะสมในมวลน้ำ ดินตะกอน และสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรอาร์กติกแล้ว ยังมีการศึกษาถึงการหมุนเวียนสารอาหารและฟลักซ์คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถที่จะเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองทางชีวธรณีเคมีต่อการเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรอาร์กติกในภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ การเดินทางในครั้งนี้ยังได้ประสบการณ์การทำงานในทะเลที่เป็นน้ำแข็งและที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น”
นายอานุภาพ พานิชผล นักวิจัยจากสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ กล่าวว่า การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกเหนือมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งจากการไปสำรวจพบว่าความหนาของน้ำแข็งใหม่ในรอบปีมีความหนาที่ลดลง ส่วนในเรื่องของมลพิษในทะเล เช่น การสะสมของไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในน้ำทะเลและในอากาศบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกัน”
ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม 2567 โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯ จะมีการส่งนักวิจัยอีกสองท่าน ได้แก่ สพ.ญ.ดร.คมเคียว พิณพิมาย จากสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ และ รศ.ดร.ภศิชา ไชยแก้ว จากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เดินทางไปพร้อมกับคณะสำรวจแอนตาร์กติก รุ่นที่ 40 ของประเทศจีน เพื่อความต่อเนื่องในการศึกษาถึงผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และไมโคร พลาสติกที่มีต่อระบบนิเวศที่แอนตาร์กติก พร้อมทั้งศึกษาความเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปริมาณคาร์บอนในดิน รวมทั้งศึกษาการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากดินบริเวณขั้วโลก ซึ่งเป็นความร่วมมือของนักวิจัยไทยกับประเทศจีนที่มีมาอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกพระราชดำริฯ
ด้าน ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยไทยผู้เปิดประตูสู่งานวิจัยสภาพภูมิอากาศขั้วโลกคนแรกๆ ของประเทศไทย ที่มีโอกาสเดินทางไปที่แอนตาร์กติก และอาร์กติกหลายครั้ง ได้ให้ข้อคิดเห็นจากการสำรวจของนักวิจัยไทยในครั้งนี้ว่า การที่เรือตัดน้ำแข็งของประเทศจีนสามารถที่จะเดินทางเข้าถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้เป็นครั้งแรก และไม่ยากนั้น แสดงให้เห็นว่าขณะนี้บริเวณขั้วโลก มีการสะสมของก๊าซเรือนกระจกอย่างมาก จึงทำให้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงที่ทำให้น้ำแข็งละลาย ส่งผลทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นทั่วโลก เป็นเสมือนระบบเตือนภัยล่วงหน้าให้แก่โลกของเราว่า ผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะขยายขอบเขตมากขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้น
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้