รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 ธันวาคม 2566
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
8-18 ธันวาคม 2566 เวลา 11.00 – 22.00 น.
ณ สวนลุมพินี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญร่วม “งานวันกาชาด 100 ปี พุทธศักราช 2566” “รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้” ระหว่างวันที่ 8-18 ธันวาคม 2566 เวลา 11.00 – 22.00 น. ณ สวนลุมพินี และทางออนไลน์ 24 ชั่วโมงที่ www.redcrossfair.com
เชิญแวะร้านกาชาดจุฬาฯ ที่สวนลุมพินี บริเวณโซน A ใกล้กับกองอำนวยการร่วม แนวคิดในการออกแบบร้านกาชาดจุฬาฯ ปีนี้เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการจัดงานกาชาด ผ่านสถาปัตยกรรมรูปแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) อันงดงามทันสมัย ชวนให้ย้อนรำลึกถึงความสุข ความรื่นรมย์ และความงดงามของการให้ อาคารหลักเป็นศาลาโถงแปดเหลี่ยม ในรูปแบบของศาลาในอุทยานสถานขนาดใหญ่ ปกคลุมด้วยหลังคาโดมแปดเหลี่ยมที่ประดับลวดลายดอกใบจามจุรีประยุกต์ เช่นเดียวกับลวดลายไม้ฉลุตกแต่งตอนล่าง ฉายไฟให้เกิดมิติของร่มเงาต้นจามจุรีที่สื่อความหมายถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพื้นที่สวนลุมพินี โดยผูกลายเป็นเรขาคณิตตามแบบอย่างศิลปะอาร์ต เดโค กลางศาลาเป็นเวทีการแสดง
ด้านหน้าศาลาโถงตั้งแท่นประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมประติมากรรมรูปพระเกี้ยวสีทองขนาดใหญ่ อีกมุมหนึ่งตั้งบ่อน้ำพุประดับไฟสี การตกแต่งใช้สีเขียวเป็นพื้นหลังให้สอดคล้องกับความเป็นสวน สถาปัตยกรรมและเครื่องตกแต่งใช้สีชมพูซึ่งเป็นสีประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอดประสานกับสีแดงและขาวซึ่งเป็นสีของสภากาชาดไทย สะท้อนถึงความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันระหว่างองค์กรที่มีสืบเนื่องมาตลอดระยะเวลา 1 ศตวรรษ ทั้งนี้ร้านกาชาดจุฬาฯ ออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ มีความมั่นคงแข็งแรง โดยเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รูปทรงศาลาสามารถระบายอากาศได้ดี สร้างสภาวะน่าสบายและสุขอนามัยที่ดี โดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน
กิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจในร้านกาชาดจุฬาฯ ปีนี้
– นิทรรศการ “กว่าครึ่งศตวรรษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการออกร้านกาชาดจุฬาฯ” ชมเรื่องราวย้อนบรรยากาศจุฬาฯ ร่วมงานกาชาดในแต่ละทศวรรษ ได้แก่ ปฐมบท เผยแพร่วิชาการ (พ.ศ. 2510-2520) – สนุกสนานเพลินบทเพลง (พ.ศ.2521- 2530) ครื้นเครงเล่นสอยดาว (พ.ศ.2531 – 2540) แพรวพราวนาฏศิลป์และสลาก (พ.ศ.2541 – 2550) หลากความสุข เร่งบรรเทาทุกข์ประชา…จวบปัจจุบัน (พ.ศ.2551 – 2566)
– การสอยดาวชิงรางวัลมากมาย
– ชมการแสดงของวงดนตรี CU Band ที่ร้านกาชาดจุฬาฯ 8-18 ธันวาคม 2566 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
– ชมการแสดงของภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ที่เวทีร้านกาชาดจุฬาฯ
วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2566 เวลา 19.30 – 20.00 น.
– ฟ้อนแพน
– รองเง็งมอเด็น
– การแสดงชุดเสน่ห์นาย
– ระบำชนไก่
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2566 เวลา 19.30 – 20.00 น.
– ระบำนางไม้
– ฉุยฉายวันทอง
การแสดง ณ เวทีกลาง งานกาชาด สวนลุมพินี
วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2566 เวลา 17.00 – 18.00 น.
– การแสดงละครนอก เรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” ตอน “พระไวยเกี้ยวนางวันทอง”
– การแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยชุด เสน่ห์สวาท
– การแสดงนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ชุด รองเง็ง มอเด็น
นอกจากนี้ ขอเชิญทุกท่านร่วมบริจาคเงินสนับสนุนสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ในโครงการ “จุฬาฯ ช่วยกาชาด บรรเทาทุกข์ 1,000 บาท 1 ถุงยังชีพ” ในโอกาส 100 ปีงานกาชาด ปี 2566
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/139896/
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้