ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากเดนมาร์ก บูรณาการ AI เพื่อพลิกโฉมระบบการศึกษา

ปัจจุบัน Generative AI เข้ามาเป็นเครื่องมือพลิกโฉมการเรียนการสอนการทำงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำในการบุกเบิกการนำนวัตกรรม AI เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนของคณาจารย์และนิสิตอย่างเต็มรูปแบบผ่านแพลตฟอร์มและเครื่องมือต่างๆ

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ ห้อง 409 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาฯ (อาคารจามจุรี 10) สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn School of Integrated Innovation – CSII) ซึ่งเป็นสถาบันระดับคณะใหม่ล่าสุดและเป็นเรือด่วน (Speedboat) ที่เน้นเรื่องการศึกษาด้านนวัตกรรม ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับกลุ่มบริษัท LB&A Consortium เพื่อเปลี่ยนโฉมการศึกษาโดยการบูรณาการนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์หรือ AI กิจกรรมนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวไปสู่อนาคตทางการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่จะกลายเป็นมาตรฐานการศึกษาระดับโลก โดยมี ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามร่วมกับ Mr. Anders Hasle Nielsen ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI จากราชอาณาจักรเดนมาร์ก ตัวแทนกลุ่มบริษัท LB&A consortium ที่ประกอบด้วย Lion Brain Co., Ltd. (LionBrain) และ Anders H.L.Soft Co., Ltd.
การลงนามบันทึกความเข้าใจนี้เป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการร่วมพัฒนาแพลตฟอร์ม AI เพื่อการศึกษาภายหลังจากงานเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ยุคเอไอได้มาถึงแล้วประเทศไทยพร้อมรับมือไหม?” เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
โดยทั้งสองฝ่ายสัญญาที่จะร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดการการศึกษาที่จะนำไปสู่การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ในอนาคตโดยเฉพาะหลักสูตร Bachelor of Arts and Science in Integrated Innovation (BAScii)
ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาฯ เปิดเผยว่า การร่วมมือครั้งนี้ไม่ใช่เพียงการเข้าถึงเทคโนโลยีในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Generative AI ที่ทางสถาบันไม่ต้องเริ่มทุกอย่างจากศูนย์เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการสร้างกรอบความคิดใหม่ โดยการผสานแนวคิด AI เข้ากับการศึกษา งานวิจัย และการบูรณาการนวัตกรรมของหลักสูตร BAScii” หนึ่งในความคาดหวังจากความร่วมมือนี้คือต้นแบบของการบูรณาการ AI ให้เป็นส่วนสำคัญของระบบการศึกษาในอนาคต จึงเหมาะสมมากที่จะบุกเบิกกับสถาบันเรือด่วน CSII ที่มีความคล่องตัวและความว่องไวต้นแบบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆด้วย

Mr. Anders Hasle Nielsen กล่าวว่า “การร่วมมือกันในครั้งนี้จะปูทางไปสู่รูปแบบการศึกษาที่ขับเคลื่อน” ด้วยเอไอ ที่จะถูกออกแบบให้เป็นเครื่องมือเอไอเฉพาะตัวของผู้ใช้เครื่องมือนี้มีความสามารถในการฝึกฝน เรียนรู้ และเติบโตตามฐานข้อมูลเฉพาะที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาของผู้ใช้ความร่วมมือของเราจะเป็นก้าวสำคัญในการทำให้ AI เป็นส่วนสำคัญที่เป็นประโยชน์ในสถานศึกษาทั่วโลก”

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า