ข่าวสารจุฬาฯ

สถาปัตย์ จุฬาฯ จัดหลักสูตรอบรมและ workshop สถาปัตยกรรมไม้ของประเทศญี่ปุ่น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ CU D4S และบริษัท The Global Design Academy จัดโครงการอบรมหลักสูตร “Adaptation + Essence of Japanese wooden  Architecture” ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม 2567  มีผู้เข้าร่วมโครงการ 21 คน

หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบโดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่ยั่งยืนและสถาปัตยกรรมจากไม้จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างงานไม้จากบริษัท Miyagawa Koki ประเทศญี่ปุ่น ทีมวิทยากรประกอบด้วย ศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ดร.สริน พินิจ ผศ.จักรพร สุวรรณนคร  ผศ.ดร.เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร คุณโยจิ ฮาชิซุเมะ President บริษัท Taiheiyo Design Office Co., Ltd. คุณเคโกะ มิยากาว่า Director บริษัท Miyagawa Koki Co., Ltd.

การอบรมเริ่มด้วย Lecture Series ซึ่งประกอบด้วยการบรรยายทั้งหมด 4 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 22 พฤศจิกายน 2566 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจพื้นฐานความจำเป็นของการใช้ไม้เป็นวัสดุหนึ่งในการส่งเสริมสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน (Sustainable Architecture) และพื้นฐานการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่สร้างจากไม้ ทั้งในแบบของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น (Thai and Japanese Wooden Architecture)

ระหว่างวันที่ 3-9 ธันวาคม 2566 ผู้เข้าร่วมโครงการได้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในเมืองโตโยฮาชิและกรุงโตเกียว  ประเทศญี่ปุ่นเพื่อศึกษาดูงานและอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การออกแบบและ ก่อสร้างด้วยข้อต่อในงานไม้จากการปฏิบัติจริง ซึ่งทางบริษัท Miyagawa Koki ได้มอบสิทธิพิเศษในการเรียนรู้แนวทางของอุตสาหกรรมด้านการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่สร้างจากไม้ รวมถึงได้รับโอกาสเข้าเยี่ยมชมอุตสาหกรรมการผลิต และออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้ของบริษัท Miyagawa Koki Co., Ltd. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบ และออกแบบผลิตภัณฑ์จากไม้ลำดับต้นๆของประเทศญี่ปุ่น และยังเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่มีความสนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Sustainable Wooden Architecture” เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 และการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Japanese Wood Construction” เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 โดยมี ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน และมอบของที่ระลึกให้แก่คณาจารย์ คณะผู้บริหาร และวิทยากรจากบริษัท Miyagawa Koki ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับประสบการณ์การวางผังพื้นฐานจากงานสถาปัตยกรรมในประเทศญี่ปุ่น โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสถาปัตยกรรมไทย และประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังมีความเข้าใจในไม้ชนิดต่างๆ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการออกแบบ และก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม รวมถึงเทคนิคการออกแบบ ข้อต่อไม้ การใช้เครื่องมือขั้นสูงในการออกแบบ ตลอดจนโอกาสการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมด้านการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่สร้างจากไม้ โครงการอบรมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Miyagawa Koki Co., Ltd. บริษัท Taiheiyo Design Office Co., Ltd. บริษัท The Global Design Academy และบริษัท CU D4S Enterprise Co., Ltd. ที่ร่วมมือกันจัดกิจกรรมที่มีประโยชน์ และส่งเสริมคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมงานไม้ของไทยให้ยั่งยืน

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า