ข่าวสารจุฬาฯ

คณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาฯ ร่วมประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอาเซียนที่ฟิลิปปินส์

 ผศ.ดร.ภัทระ คมขำ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมด้วย น.ส.พุทธิพร สินธนามราพันธ์ และ น.ส.ศราวรรณ พิมพันธุ์ นิสิตสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย น.ส.ดวงพร มีนุ่น และ น.ส.เบญจรัตน์ นามนิล นิสิตสาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ชั้นปีที่ 4 เดินทางไปร่วมการประชุมวิชาการ The 16th ASEAN and 5th ASEAN+3 Youth Cultural Forum  ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ASEAN University Network (AUN) กับ Ateneo De Manila University ระหว่างวันที่ 11 – 16 พฤศจิกายน 2561 ณ Ateneo De Manila University สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยมีตัวแทนจาก 5 มหาวิทยาลัยได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กิจกรรมประกอบด้วยการประชุมวิชาการ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างนิสิตนักศึกษาที่เป็นตัวแทนจากทุกมหาวิทยาลัย และการจัดการแสดงประจำชาติของ 13 ชาติที่เข้าร่วม

ทั้งนี้ ผศ.ดร.ภัทระ คมขำ เป็นผู้ควบคุมการแสดงในนามประเทศไทยของ 5 สถาบัน โดยเรียบเรียงลำดับการแสดงขึ้นใหม่ ผสมผสานวัฒนธรรมการแสดงระหว่างโขนกับหุ่นกระบอก สร้างเป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์ใหม่ตามแนวคิดการจัดงานของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพในปีนี้ การแสดงเปิดฉากด้วยระบำกวางและหุ่นกระบอกกวางทอง เรียบเรียงทำนองเพลงใหม่ให้เหมาะสมกับตัวละคร ต่อท้ายด้วยเพลงฉิ่ง นอกจากนี้ได้ปรับการตีบทใหม่ด้วยการออกตัวพระราม พระลักษณ์ นางสีดา เปิดด้วยฉากนั่งเมือง ตามด้วยฉากป่าตามขนบเดิม และประพันธ์ทำนองเพลงใหม่ในฉากสุดท้าย ชื่อเพลง “พฤกษ์ระเริง” เพื่อให้กวางแสดงอาการกระโดดอย่างมีความสุขอยู่ในป่าตามท้องเรื่อง โดยเพลงที่ประพันธ์ใหม่มีความยาว 4 นาที

 

 

 

 

 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า