ข่าวสารจุฬาฯ

CU Top 10 News รวมเรื่องเด่นของจุฬาฯ เดือนตุลาคม – ธันวาคม 2566

– สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565

https://www.chula.ac.th/news/135783/

https://www.chula.ac.th/news/135921/

https://www.chula.ac.th/news/136056/

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2565  ระหว่างวันที่ 5 – 7 ตุลาคม 2566 ณ หอประชุมจุฬาฯ  ในปีนี้สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขากายภาพบำบัดแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยิ่ง ทรงจัดให้มีโครงการต่าง ๆ ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้พิการ 

ในการนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ เข้ารับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จำนวน 12  ท่าน และผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณเข้ารับพระราชทานกิตติบัตรจำนวน 16 ท่าน ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรปีนี้มีเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรรวมทั้งสิ้น 9.620 คน

– สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน จุฬาฯ ประจําปี 2566 ณ วัดปทุมวนาราม

https://www.chula.ac.th/news/139650/

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจําปี 2566 ณ วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โดยมี ศ.(กิตติคุณ) นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และรองอธิการบดี เฝ้าฯ รับเสด็จ 

ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธีถวายผ้าป่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสมทบทุนทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และใช้ในกิจการของวัดปทุมวนารามพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน จุฬาฯ ในครั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานจากชาวจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธามอบให้แก่วัดปทุมวนารามรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,397,990.43 บาท

– ปาฐกถา Chulalongkorn University BRIDGES Nobel Laureate Talk Series  ครั้งที่ 1 โดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

https://www.chula.ac.th/news/143079/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ International Peace Foundation จัดงาน Chulalongkorn University BRIDGES Nobel Laureate Talk Series การปาฐกถาครั้งที่ 1 หัวข้อ “The Importance of science for peace-building”  โดย Prof.Takaaki Kajita, Director of the Institute for Cosmic Ray Research, the University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต  เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และ Mr.Uwe Morawetz, Chairman, International Peace Foundation เป็นผู้กล่าวต้อนรับ จากนั้น อ.ดร.ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในหัวข้อ “Diversity and Inclusion in science collaboration and a bridge to peace” และกล่าวปิดงานโดย ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

– ประธานสภาแห่งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเยือนจุฬาฯ บรรยายพิเศษส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เวียดนาม-ไทย

https://www.chula.ac.th/news/143721/

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 H.E. Mr.Vuong Dinh Hue ประธานสภาแห่งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มาเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้แทนระดับสูงจากสถานเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย และผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้การต้อนรับ ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ จากนั้น H.E. Mr.Vuong Dinh Hue บรรยายพิเศษในหัวข้อ “เสริมสร้างความผูกพัน ความไว้วางใจ และความสัมพันธ์ของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เวียดนาม-ไทย เพื่ออนาคตร่วมแห่งสันติภาพ ความร่วมมือ และการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ Hall of Intania คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 

– จุฬาฯ เปิดตัว Sustainable Society Platform เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมยั่งยืน

https://www.chula.ac.th/news/143880/

สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ จัดงานเปิดตัวแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยสังคมยั่งยืน “Sustainable Society Platform” โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ กล่าวต้อนรับและเปิดงาน รศ.ดร.พรรณี ชีวิน ศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวถึงวัตถุประสงค์การ ริเริ่มโครงการ เพื่อรวบรวมนักวิจัยที่มีความสนใจด้านการพัฒนาทางสังคมยั่งยืน ส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูงต่อสังคม และเป็นศูนย์กลางสำหรับนักวิจัยในการแลกเปลี่ยนความคิด แบ่งปันความรู้ และทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับคนในสังคม

– จุฬาฯ จับมือ University of Sheffield เดินหน้าศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

https://www.chula.ac.th/news/140490/

 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ (University of Sheffield) ประเทศอังกฤษ ร่วมมือทางวิชาการ (MOU)  เพื่อพัฒนางานวิจัย รวมถึงพัฒนาการเรียนรู้และการเรียนการสอนร่วมกัน จากการที่มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ได้เปิดศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Vaccine Manufacturing Research Hub) โดยศูนย์ดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาวัคซีนคุณภาพสูงที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อตอบสนองการรักษาโรคที่แพร่ระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างทันท่วงที เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก โรคพิษสุนัขบ้า โรคตับอักเสบ วัณโรค เป็นต้น โดยการพัฒนาวัคซีน 3 รูปแบบ ได้แก่ วัคซีนที่ผลิตจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein Subunit Vaccine) วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม หรือวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (Messenger RNA (mRNA) Vaccine) และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector Vaccine) 

– อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567

https://www.chula.ac.th/news/138288/

อาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 4 ท่าน ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ รศ.ดร.ธิติ บวรรัตนารักษ์ คณะวิทยาศาสตร์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ  คณะแพทยศาสตร์  นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ศ.ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา  คณะครุศาสตร์  นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาการศึกษา  

ทั้งนี้ มีคณาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลผลงานวิจัย จำนวน 9 ผลงาน รางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 ผลงาน รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 9 ผลงาน 

– จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ Chula The Impact ครั้งที่ 20 “รู้ลึกกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน”

https://www.chula.ac.th/news/136371/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 20 เรื่อง “รู้ลึกกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อดูแลเด็กและเยาวชน”  เมื่อวันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนเกี่ยวกับกฎหมายและการดำเนินคดีต่อผู้เยาว์ กฎหมายและขั้นตอนการการดำเนินคดีกับเด็กและเยาวชน รวมถึงแนวทางการในการดูแลเด็กและเยาวชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงซ้ำรอย วิทยากรผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย อ.ณัฏฐพร รอดเจริญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง จากภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ 

– งานพิพิธภัณฑ์ยามคำคืน Night at the Museum @ Chula  “ช้าง เวลากลางคืน”

https://www.chula.ac.th/news/142728/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum @ Chula ประจำปี 2566 ใน theme “ช้าง ช้าง เวลากลางคืน Proboscidea the nocturnal life and their friends” ระหว่างวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2566 เวลา 16.00 – 22.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ โดยมีหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาฯ ร่วมจัดงาน ได้แก่ ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนของจุฬาฯ Night at the Museum @ Chula เป็นความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) มีผู้สนใจเข้าร่วมงานตลอดทั้งสามวันเป็นจำนวนมาก

– Chula TUN-JAI (ทันใจ) ระบบให้บริการติดตามงานภายในจุฬาฯ

https://www.chula.ac.th/news/139242/

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดใช้งานระบบ Chula TUN-JAI (ทันใจ) ช่วยให้ติดตามงานภายในหน่วยงานและ/หรือระหว่างหน่วยงานภายในจุฬาฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอน ทราบผลเร็ว เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน แสดงสถิติตรวจสอบการทำงานได้  เหมาะสำหรับบุคลากรหรือผู้บริหารโครงการต่างๆ ที่ต้องการติดตาม “งานที่มีความล่าช้า”

แพลตฟอร์มการใช้งาน Chula TUN-JAI (ทันใจ) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Chat Line สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการติดตามงานผ่านระบบ Chula TUN-JAI และเว็บไซต์ https://tunjai.chula.ac.th สำหรับผู้ใช้งานประจำส่วนงาน/หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้รับเรื่องและอัปเดตสถานะของงาน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า