ข่าวสารจุฬาฯ

ต้องทำอย่างไรหากไม่ต้องการให้ประชากรไทยเหลือเพียงครึ่งประเทศ

จากข้อมูลคาดการณ์จำนวนประชากรที่ถูกเขียนบนบทความพิเศษเรื่อง “จะเป็นอย่างไรหากสังคมไทย ‘ตายมากกว่าเกิด’ ไปเรื่อย ๆ” พบว่า ภายในปี ค.ศ. 2083 ประชากรในประเทศไทยจะลดลงจาก 66 ล้านคน เหลือเพียง 33 ล้านคน โดยในจำนวนนี้จะมีเพียง 14 ล้านคนที่เป็นประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15 – 64 ปี) จากปัจจุบันที่มีประชากรวัยแรงงานอยู่ถึง 46 ล้านคน ยิ่งไปกว่านั้นเราจะพบว่า ประชากรผู้สูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มมากขึ้นจาก 8 ล้านคน เป็น 18 ล้านคน โดยจากสัดส่วนนี้จะเห็นว่า ในปี ค.ศ. 2083 ประเทศไทยจะมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรในประเทศ ซึ่งตัวเลขนี้แสดงให้เห็นถึงการก้าวสู่สังคมสูงวัยระดับสูงสุดของประเทศไทย นอกจากนี้จากการที่ประชากรวัยแรงงานในประเทศไทยมีจำนวนที่น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงความอยู่รอดของภาคธุรกิจ ความเป็นอยู่ของคนในชาติ หรือแม้แต่ความมั่นคงระดับประเทศได้ ในบทความนี้จึงต้องการนำเสนอเกี่ยวกับวิธีที่เป็นไปได้ในการเพิ่มอัตราเจริญพันธุ์ของประชากรไทย เพื่อตอบคำถามที่ว่า “ต้องทำอย่างไรหากไม่ต้องการให้คนไทยเหลือเพียงครึ่งประเทศ” 

จากสาเหตุดังที่กล่าวไว้ข้างต้นผู้เขียนจึงได้ทำการรวบรวมเหตุผลสนับสนุนที่อาจช่วยในการแก้ไขปัญหาในเรื่องของอัตราการเจริญพันธุ์ของประเทศ ได้แก่

การเสริมสร้างทัศนคติ และค่านิยมคนรุ่นใหม่ ในการสร้างครอบครัว และบุตรในวัยอันควร เนื่องจากในปัญหาเรื่องของการคาดการณ์จำนวนประชากรไทย ในปี ค.ศ. 2083 พบว่าประชากรจะเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงอัตราการเกิดที่ลดลง และเมื่อดูจากผลงานวิจัยของ พวงประยงค์ (2018) ในเรื่องของความต้องการมีบุตรในอนาคต โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงในช่วงอายุ 15-49 ปีที่แต่งงานแล้ว จำนวน 15,661 ราย มีเพียงร้อยละ 18.8 เท่านั้นที่ต้องการมีลูก การที่เราเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่ในเรื่องของการมีบุตรและการสร้างครอบครัวจึงเป็นการแก้ปัญหาได้ที่ต้นเหตุ

การผลักดันให้รัฐบาลมีมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายให้ครอบครัวที่มีเด็กอายุ 0-5 ปี โดยผลการสำรวจจากนิด้าโพล (2566) เรื่องของการอยากมีลูกของคนกลุ่มอายุ 18-40 ปี พบว่า คนที่ไม่อยากมีลูกมีความกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูกมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 38.32 และนอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่ามาตรการที่คนต้องการรัฐสนับสนุนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือต้องการให้มีการสนับสนุนการศึกษาฟรี ต้องการให้รัฐอุดหนุนค่าเลี้ยงดูลูก และ ลดภาษีเงินได้สำหรับคนมีลูก ซึ่งถ้ารัฐมีมาตรการตรงส่วนนี้อาจจะทำให้ประชาชนมีความสนใจในการมีลูกมากยิ่งขึ้น

ส่งเสริมการจัดตั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 2 ปี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูเด็กอ่อนก่อนวัยเรียนในเวลากลางวัน สำหรับครอบครัวที่พ่อแม่ออกไปทำงาน (หลายบริษัทที่มีสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย คนทำงานมีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพมากว่าไม่มีสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เนื่องจากพ่อแม่ทำงานได้เต็มที่ไม่ต้องพะวงกังวลใจเรื่องดูแลลูกในช่วงเวลาทำงาน) หรือการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาภาระมีบุตรยากให้เข้าถึงการรักษา  โดยเฉพาะสตรีที่อายุยังน้อย เพื่อลดภาวะการมีบุตรยากในคู่สมรสที่อายุสูงขึ้น  โดยแนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ พญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล รักษาการแทนอธิบดีกรมอนามัย ที่ต้องการให้กรมอนามัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในเรื่องของการมีคลินิกส่งเสริมการมีบุตรจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการการรักษาภาวะมีบุตรยากได้เร็วขึ้นในอายุที่น้อยลง  และเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตร  พญ.อัจฉรา  ยังได้เสนอแนะเพิ่มอีกว่า การมี child care ในทุกบริษัท  หน่วยราชการ และรัฐวิสาหกิจ อาจช่วยลดประเด็นบทบาทที่ขัดกันระหว่างการทำงานกับการเลี้ยงดูบุตรได้  โดยการมี child care ดังกล่าว ถือเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้ถือเป็นการสิ้นเปลือง

นอกจากนี้ จากที่ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ได้ให้สัมภาษณ์บน The Coverage (2566) มีการเสนอให้ทุกโรงงานที่มีคนงานตั้งแต่ 300 คนขึ้นไป สนับสนุนบุคลากรในโรงงานของตน โดยการทำศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กในทุก ๆ โรงงาน รวมไปถึงศูนย์เลี้ยงเด็กพื้นฐานในตำบล ซึ่งอาจเกิดจากการร่วมมือระหว่างรัฐกับนายจ้าง นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบประมาณ 20 ล้านคน (เกษตรกรประมาณ 12 ล้านคน อาชีพอิสระ เช่น หาบเร่แผงลอย ประมาณ 8 ล้านคน) ต้องเผชิญกับความจริงที่ว่า แม้เกษตรกรจะสามารถสร้างผลผลิตได้ แต่คนงานจะอยู่ได้ด้วยการซื้อขายเพียงอย่างเดียว การแจกหรือบริจาคจึงเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของการพัฒนา การส่งเสริม หรือดึงดูดให้คนอยากมีลูกจึงถือเป็นหนทางที่ดีและยั่งยืน

กล่าวโดยสรุปคือ ปัจจุบันสังคมไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาการลดลงของประชากร  ซึ่งอาจก้าวไปสู่วิกฤตด้านเศรษฐกิจและสังคมได้หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน  ซึ่งในบทความนี้ได้นำเสนอแนวทางที่หลากหลายเพื่อแก้ไขปัญหาลดลงของจำนวนประชากรของประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีบุตร  และการสนับสนุนด้านโครงสร้างทางสังคมในทุกขั้นตอนและทุกช่วงวัยของชีวิต  ตลอดจนถึงการส่งเสริมทัศนคติและค่านิยมที่สนับสนุนการสร้างครอบครัวและการมีบุตรในสังคมไทย และแม้มีแนวทางการแก้ปัญหาหรือผลักดันการมีบุตร อย่างไรก็ตามทุกท่านต้องไม่ลืมตระหนักถึงความจริงที่ว่า    “ถ้าอยากให้ประชากรเพิ่ม  ก็ต้องคิดว่ามาตรฐานการดำรงชีวิตที่สามารถเพิ่มประชากรได้คืออะไร เมื่ออยากจะใช้ประโยชน์จากมนุษย์ แต่ไม่ยอมลงทุนกับมนุษย์ แบบนี้หมายความว่าอย่างไร อยากมีกำไร เพียงแค่ลงทุนก็ได้กำไร แต่กำไรนั้นก็มาจากมนุษย์ แล้วจะไม่ลงทุนกับมนุษย์อย่างนั้นหรือ…” ดังบทสัมภาษณ์ที่ถูกเผยแพร่ของ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ บน The Coverage (2566)

Add Reference

The Coverage. (2566). นี่คือความบัดซบที่เราไม่เข้าใจ ในสังคม ‘การค้าอุตสาหกรรม’ ที่สัมพันธ์กับ ‘เด็กเกิดน้อย’. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2566, จากเว็บไซต์: https://www.thecoverage.info/news/content/5640

นิด้าโพล. (2566). มีลูกกันเถอะน่า. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2566, จากเว็บไซต์: https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=658

พวงประยงค์ ก. (2018). ความต้องการมีบุตรในอนาคต: หลักฐานเชิงประจักษ์จากสตรีที่สมรสในประเทศไทย (FUTURE DESIRE FOR CHILDREN: EMPIRICAL EVIDENCES FROM MARRIED WOMEN IN THAILAND). Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 10(19, January-June), 1–19. Retrieved from https://so04.tci- thaijo.org/index.php/swurd/article/view/139422

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า