รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 มกราคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
เมื่อวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566 ณ ลานกิจกรรม อาคารประชาธิปก – รำไพพรรณี ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรม Kick-off โครงการ Replication Battery-Swapping Electric Motorcycle Taxis in Samyan District of Bangkok รถจักรยานยนต์รับจ้างพลังงานไฟฟ้าสู่สังคมที่ยั่งยืน (Electric Mobility Two-Wheelers Toward Sustainable Society) สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ลดมลภาวะทางเสียง ยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง
ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) กล่าวว่า ในสถานการณ์วิกฤตมลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และวิกฤตความแปรปรวนของภูมิอากาศจากปัญหาโลกร้อน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุน SOLUTIONSPlus (https://solutionsplus.eu/) ผ่านหน่วยงาน Urban Electric Mobility Initiative (UEMI) ร่วมมือกับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ บริษัท เอสทีแอล กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (สตาเลียน) และบริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด (Swap & Go) ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าสู่กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะในเขตพื้นที่สามย่าน หนึ่งในพื้นที่การจราจรคับคั่งของกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการปรับเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลสู่การใช้ระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า
รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวว่า นอกจากปัจจัยทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การจะผลักดันให้ผู้ขับขี่วินรถจักรยานยนต์รับจ้างหันมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสถานะทางการเงินของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างด้วย โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีค่าครองชีพสูงจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้เข้ากับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมทั้งตัวรถจักรยานยนต์ที่เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพที่อาจกระทบกับเสถียรภาพทางการเงิน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่โครงการนี้จะได้ทำการศึกษาทางออกในการลดมูลค่าการถือครองรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้เทียบเท่ากับค่าใช้จ่ายทางด้านเชื้อเพลิง ช่วยแก้ปัญหาอุปสรรคทางการเงินและอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนไปใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างราบรื่น เป็นการผลักดันเพื่อหวังผลการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับความเป็นจริงทางเศรษฐศาสตร์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ
คุณอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยประจำสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า ปัจจัยที่จะผลักดันให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะหรือมอเตอร์ไซค์รับจ้างหันมาใช้รถจักรยานยนต์พลังงานไฟฟ้าแทนรถจักรยานยนต์น้ำมันทั่วไปมีมากกว่าการสนับสนุนด้านราคาและไฟแนนซ์ พบว่าผู้ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างยังมีความกังวลด้านค่าใช้จ่าย สมรรถนะของตัวรถ และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทั้งระบบนิเวศน์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกัน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน อาทิ เรื่องมาตรฐานแบตเตอรี่ที่ควรมีมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ ความแพร่หลายและจำนวนสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ บริษัทไฟแนนซ์ ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานของรถที่จะนำมาใช้รับส่งผู้โดยสาร ทั้งนี้ ปัญหาสภาพเศรษฐกิจในเขตเมืองเป็นประเด็นสำคัญเฉพาะหน้าสำหรับผู้ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ส่วนใหญ่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพเป็นประเด็นสำคัญมากกว่ากว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในโครงการนี้จะศึกษาแง่มุมเชิงสังคมควบคู่ไปกับเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาข้อเสนอที่เหมาะสมที่สุดในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ให้ผู้ขี่หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้างใน กทม. และปริมณฑลกว่า 80,000 คัน พิจารณาเปลี่ยนมาใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้