รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 มกราคม 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
ศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการขยายระยะเวลาเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (FAO Reference Centre for AMR) ต่อเนื่องอีก 4 ปีจนถึงพฤศจิกายน 2570 โดย Dr.Qu Dongyu ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) และคณะ ได้มาเยือนคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อมอบประกาศนียบัตรขยายระยะเวลาการเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (FAO Reference Centre for AMR) และเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์อ้างอิงฯ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567
ในการนี้ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ศ.สพ.ญ.ดร.สันนิภา สุรทัตต์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศ.สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์ ชวนชื่น ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ สำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ให้การต้อนรับ ณ ห้องสาธิต ชั้น 1 อาคาร 60 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการรับรองเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะของ FAO (FAO Reference Centre for AMR) ตั้งแต่ปี 2562 โดยเป็น 1 ใน 5 หน่วยงานแรกทั่วโลกที่ได้รับการรับรองเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ และเป็นศูนย์อ้างอิงฯนานาชาติแห่งแรกและแห่งเดียวในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ปัจจุบันทั่วโลกมีศูนย์อ้างอิงฯ เพียง 9 แห่ง
ศูนย์อ้างอิงฯ มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกับ FAO และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรนานาชาติทั่วโลกแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเฝ้าระวังและตรวจติดตามเชื้อดื้อยา รวมทั้งดำเนินการสร้างขีดความสามารถของประเทศสมาชิกในภูมิภาคให้เฝ้าระวังติดตามและแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาได้ โดยในระหว่างปี 2562-2566 ศูนย์อ้างอิงฯ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ รวมถึงการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการนานาชาติ 7 ครั้ง การเป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจประเมินและให้คำปรึกษาด้านสมรรถนะห้องปฏิบัติการ 32 แห่งใน 14 ประเทศ การจัดการทดสอบความชำนาญของห้องปฏิบัติการประจำปี 5 ครั้งและจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ 1 ครั้ง
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมชั้นนำเพื่อสร้างสรรค์สังคมผ่านความรู้และการศึกษาวิจัยทางด้านอาหารและการเกษตรอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกล่าวย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติครอบคลุมในทุกมิติ ได้แก่ เชื้อดื้อยา โรคระบาดสัตว์ข้ามแดนและโรคสัตว์สู่คน สุขภาพหนึ่งเดียว การผลิตปศุสัตว์ ความปลอดภัยทางอาหาร และกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยและยั่งยืน ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยาซึ่งเกิดจากการที่จุลชีพไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ครอบคลุมทั้งยาปฏิชีวนะ ยาต้านปรสิต และยาต้านไวรัส ปัจจุบันมีอุบัติการณ์ที่สูงขึ้น ส่งผลทำให้การควบคุมและรักษาโรคติดเชื้อทำได้ยากขึ้นหรือไม่สามารถทำได้ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่ระบาด ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และอัตราการเสียชีวิต
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้