รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 มกราคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานฝ่ายพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมจริยธรรมการวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม Four South Board Room ชั้น 4 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงานของทั้ง 2 มหาวิทยาลัย โดยคณะผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ประธานคณะกรรมการจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัย ดร.อัจฉริยา อักษรอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารวิจัย และนางสาวบงกช หงสะพัก ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมคุณภาพและเผยแพร่งานวิจัย และคณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.โธมัส กวาดามูซ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ และ ดร.บุษรี ฐิตาภิวัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
ในการนี้ คณะผู้แทนจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัยร่วมฟังบรรยาย ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรในด้านจริยธรรมการวิจัย ณ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย สวทช.บรรยายโดยคุณฐิติวรรณ เกิดสมบุญผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย สวทช. เกี่ยวกับการทำหน้าที่เสริมสร้างการวิจัยและพัฒนาการวิจัยอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงศึกษากระบวนการดำเนินงานด้านจริยธรรมการวิจัย ในการรับข้อร้องเรียนพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย (Research Misconduct) เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการสืบสวนและพิจารณาช่องทางการแจ้งเบาะแสทางออนไลน์ผ่านระบบ NSTDA Whistleblowing System และการแจ้งเรื่องร้องเรียนด้วยตนเอง ณ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและจริยธรรมการวิจัย สวทช.
ทั้งนี้ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างมาตรฐานงานวิจัยด้านจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัย โดยมุ่งเน้นกลุ่มนักวิจัยที่ทำการศึกษาวิจัย และอาจารย์นักวิจัยที่ต้องการทำวิจัย จึงมีประกาศนโยบายด้านจริยธรรมด้านงานวิชาการและงานวิจัย ดังนี้
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยึดถือมาตรฐานสูงสุดของจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัยที่จัดทำโดยบุคลากรและนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และการสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงาน
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดสรรทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานด้านจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัยของบุคลากรและนิสิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน
3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพันธกิจในการให้ความรู้ เสริมสร้างจิตสำนึก และสร้างความตระหนักรู้ด้านจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัยแก่บุคลากรและนิสิต
4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดให้มีกลไกในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนด้านจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และยุติธรรม
5. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดให้มีความร่วมมือในการทำงานเพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านจริยธรรมงานวิชาการและงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้