รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 มกราคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วในสุนัข (Mitral Valve Regurgitation) หรือโรคลิ้นหัวใจไมตรัลเสื่อมในสุนัข (Degenerative Mitral Valve Disease) เป็นโรคหัวใจในสุนัขที่พบได้มากที่สุดราว 70 – 80 % ส่วนใหญ่พบในสุนัขที่มีอายุมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขพันธุ์ขนาดเล็กและกลาง ซึ่งการรักษาโดยการใช้ยาเป็นการรักษาหลัก
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการรักษาลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วโดยการซ่อมลิ้นหัวใจด้วยตัวหนีบลิ้นหัวใจ mitral clamp ผ่านการผ่าตัด โดยอาจารย์จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.น.สพ.ดร.อนุศักดิ์ กิจถาวรรัตน์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับทีมสัตวแพทย์อีก 6 ท่านจากโรงพยาบาลสัตว์มอนสเตอร์แคร์ โรงพยาบาลสัตว์โมทิเว็ท และโรงพยาบาลสัตว์บางกอกฮาร์ท ซึ่งประสบความสำเร็จในการผ่าตัดสุนัขที่เป็นโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วด้วยวิธีดังกล่าวเป็นเคสแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 และเคสที่สองเมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา ผลการผ่าตัดประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะทำให้มีแผลขนาดเล็ก ไม่ต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม ทำให้สุนัขฟื้นตัวเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้หัวใจสุนัขจะปรับสภาพใหม่และช่วยชะลอการเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิต การรักษาด้วยตัวหนีบลิ้นหัวใจ Mitral clamp นี้มีการทำในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศในยุโรป จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เริ่มจากการนำมาใช้ผ่าตัดในคนและใช้ในสัตว์ในเวลาต่อมา โดยในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่มีการรักษาด้วยวิธีนี้มาก่อน
รศ.น.สพ.ดร.อนุศักดิ์ กิจถาวรรัตน์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลอง จุฬาฯ เปิดเผยว่า โรคลิ้นหัวใจรั่วในสุนัขจะพบเพิ่มขึ้นตามอายุของสุนัขที่มากขึ้น โรคนี้แบ่งออกเป็นระยะที่ยังไม่แสดงอาการ และระยะที่แสดงอาการแล้ว สุนัขที่ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย ไอ หอบ จนถึงระยะรุนแรงคือน้ำท่วมปอด หัวใจล้มเหลวและเสียชีวิต สุนัขที่มีภาวะลิ้นหัวใจรั่วจะทำให้เลือดไหลย้อนกลับจากหัวใจห้องล่างซ้ายขึ้นไปหัวใจห้องบนซ้าย หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดภาวะเลือดไหลย้อนกลับไปที่ปอด เกิดภาวะน้ำท่วมปอดได้ วิธีการซ่อมลิ้นหัวใจด้วยตัวหนีบลิ้นหัวใจ mitral clamp ผ่านการผ่าตัดสามารถทำได้ในสุนัขพันธุ์ที่มีความชุกของโรคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุนัขพันธุ์ที่มีขนาดเล็กหรือขนาดกลาง เช่น ปอมเมอเรเนียน ชิสุ ชิวาวา ฯลฯ โดยการผ่าตัดเปิดที่ช่องอกสุนัขต้องใช้ทีมงานฝ่ายต่างๆ ในการทำงานประสานกัน
เจ้าของสุนัขที่สนใจจะนำสุนัขที่ป่วยด้วยโรคลิ้นหัวใจรั่วมารักษาด้วยวิธีการโดยการซ่อมลิ้นหัวใจด้วยตัวหนีบลิ้นหัวใจ mitral clamp ผ่านการผ่าตัด สามารถนำสุนัขมาตรวจว่าสามารถผ่าตัดรักษาด้วยวิธีการนี้ได้หรือไม่ โดยติดต่อได้ที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หรือที่โรงพยาบาลสัตว์มอนสเตอร์แคร์ โรงพยาบาลสัตว์โมทิเว็ท และโรงพยาบาลสัตว์บางกอกฮาร์ท
รศ.น.สพ.ดร.อนุศักดิ์ ฝากคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลและสังเกตอาการสุนัขที่ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว รวมทั้งโรคหัวใจ หากพบอาการในเบื้องต้น เช่น สุนัขเหนื่อยง่ายผิดปกติ มีอาการไอ ถ้าตรวจเจอในระยะต้นก่อนที่จะมีอาการน้ำท่วมปอดสามารถรักษาให้หายได้ทั้งการให้ยาหรือจะใช้วิธีการผ่าตัดก็ได้
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้