รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 มกราคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลในงาน “Future Thailand อว.ยุคใหม่ เพื่ออนาคตประเทศไทย” ซึ่งมีงานแถลงข่าว “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” การจัดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2567 และพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 ณ สามย่านมิตรทาวน์ ฮอลล์ 1 ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ โดยมี คุณศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีและมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ โดยมีคณาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลดังนี้
· เวที “Taiwan Innotech Expo 2023” (TIE 2023) ณ กรุงไทเป ไต้หวัน
– ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ และคณะ จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ตรวจวัดแลคเตทในเลือดแบบพกพาสำหรับการช่วยชีวิตผู้ป่วยวิกฤตอย่างทันท่วงที” (รางวัลเหรียญเงิน)
· เวที “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New products” (iENA 2023) ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
– ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ ผลงานเรื่อง “หุ่นจำลองอวัยวะหนูขาวใหญ่ (Rattus norvegicus) ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ ในรูปแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง” (รางวัลพิเศษ)
· เวที The 3rd Asia Exhibition of Innovations and Inventions Hong Kong” (AEII) ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
– ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “BioCa: สารเสริมธาตุอาหารแคลเชียมชีวภาพสำหรับพืช” (รางวัลเหรียญทอง) ดร.นิตยา แก้วแพรก เป็นผู้ขึ้นรับรางวัล
– อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และคณะ จากศูนย์นวัตกรรม โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ผลงานเรื่อง “OxyRock” (รางวัลเหรียญทอง)
– ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันต์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “WELL Weaver : นวัตกรรมการสานเพื่อสุขภาวะและการตกแต่งที่ยั่งยืน” (รางวัลเหรียญทองแดง)
นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้รับรางวัลอื่นๆ จากหน่วยงานสนับสนุนการวิจัยระดับชาติ ได้แก่
· รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นหน่วย บพท. ประจำปี 2565 ผลงานเรื่อง “การพัฒนาโคเนื้อจังหวัดน่าน ด้วยกลไกความร่วมมือเชิงพื้นที่” (ด้านการแก้ไขปัญหาและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและอาชีพ) โดย ผศ.น.สพ.ดร.วินัย แก้วละมุล จากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ
· รางวัล World’s Top 2% scientists (Thailand)
· รางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่มีศาสตราจารย์เพิ่มขึ้นสูงสุด (คณะรัฐศาสตร์)
· รางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่มีศาสตราจารย์เพิ่มขึ้นสูงสุด (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี)
· รางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับรองคุณภาพการศึกษานานาชาติเพิ่มสูงสุด (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี)
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการแถลงข่าว “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” และการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2567 (Thailand Inventors’ Day 2024) ) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในงาน และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติเข้าเฝ้ารับพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติ
ผู้สนใจเข้าร่วมงาน สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://inventorsday.nrct.go.th/
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้