รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 มกราคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) จัดงาน Future Thailand ” อว. ยุคใหม่เพื่ออนาคตประเทศไทย” เปิดเวทีเสวนาแนวทางอนาคตของ อว. ในการขับเคลื่อนอนาคตของประเทศ ร่วมกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ หัวหน้าส่วนราชการและผู้บริหารกระทรวง อว. และนักวิจัยกว่า 800 คน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม 2567 ณ สามย่านมิตรทาวน์ ในงานมีการแถลงข่าว “วันนักประดิษฐ์” และ “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” ประจำปีงบประมาณ 2567 เวทีเสวนากับ 5 กูรู ภาคการศึกษา เสวนาเสียงแห่งอนาคต จากตัวแทนจากภาคการศึกษา ภาคนักวิจัย และภาคเอกชน พร้อมพูดคุยเรื่อง “เส้นทางสู่การเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ” โดยนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2567
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ปาฐกถาพิเศษ “ขานรับนโยบาย อว.ยุคใหม่ ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทย” โดยกล่าวถึงการบริหารงานของกระทรวง อว. ที่ผ่านมาว่าได้วางแนวทางและขับเคลื่อนแผนงานสำคัญที่ตรงกับความต้องการของนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการและประชาชน นอกจากนี้ยังผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมในมหาวิทยาลัยสู่เชิงพาณิชย์ จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมแห่งอนาคตเพื่อเยาวชนไทยสู่สากล (Futurium) การสนับสนุนสตาร์ทอัพ รถไฟต้นแบบที่ออกแบบและผลิตโดยคนไทย การพัฒนาเทคโนโลยีและยกระดับรถยนต์ไฟฟ้า EV สู่อุตสาหกรรม รวมทั้งการขยายผล AI เพื่อคนไทย หรือ “โอเพ่นไทยจีพีที” และการใช้แอป “ทราฟฟี่ ฟองดูว์” เพื่อแก้ปัญหาประชาชน เป็นต้น
สำหรับแนวทางในการดำเนินงานต่อไปของ อว. จะมุ่งเน้น “เรียนดี มีความสุข มีรายได้” และ ”วิจัย นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” โดยแนวทางการทำงานในอนาคตประกอบด้วย 9 ประเด็น คือ 1. อยากเรียนต้องได้เรียน 2. เรียนมีความสุข มีรายได้ 3.วิจัยและนวัตกรรมสำหรับคนไทยทุกคน 4. อว. แฟร์ มหกรรมสินค้านวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก 5.พิพิธภัณฑ์นวัตกรรมชั้นนำของอาเซียน 6. หนึ่งอำเภอหนึ่งนวัตกรรม 7. เปิดศักราชใหม่อุตสาหกรรมอวกาศไทย 8. อว.ขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ระดับโลก และ 9. กองทุนใหม่ สนับสนุนนักวิจัยและมหาวิทยาลัย
รัฐมนตรีกระทรวง อว. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยทั่วประเทศยังให้ความร่วมมือสนับสนุนนโยบายกระทรวง อว. เช่น การปรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะในสาขาที่มีความต้องการสูง ให้นักศึกษาสามารถจบการศึกษาได้เร็วกว่า 4 ปี ปรับการเรียนการสอนและหลักสูตรที่จำเป็นต่อการทำงานยุคใหม่ เช่น AI, Data Science, Cloud, Coding, E-Commerce ฯลฯ ร่วมจัดทำหลักสูตรที่เน้นการเรียนรู้แบบ Experiential Learning และ Entrepreneurial Education เน้นการเรียนคู่กับการปฏิบัติ และสร้างผู้ประกอบการใหม่ เช่น สหกิจศึกษา CWIE บัณฑิตพันธุ์ใหม่ ร่วมจัดทำและรับรองทักษะ (skill transcript) ระบุทักษะที่นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาในแต่ละปี ร่วมจัดทำระบบคลังหน่วยกิตกลาง (National Credit Bank) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต Life-long Learning เป็นต้น
รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ได้ร่วมเสวนาโดยกล่าวถึงเรื่อง National Lifelong Learning Ecosystem for Alls by MHESI กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาในเรื่องของ Thailand Academy ซึ่งสามารถที่จะทำสิ่งนี้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศและสมรรถนะคนไทย
“เราสามารถ Cross function กันกับกระทรวงต่างๆ บูรณาการทักษะต่างๆ รวมทั้งในเรื่อง credits bank ที่จุฬาฯ มีการวิจัยและทำ sandbox เพื่อรับกับการเติบโตของโลก” คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ กล่าว
นอกจากนี้ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เป็นตัวแทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคการศึกษา กล่าวในช่วง “เสียงแห่งอนาคต” ในหัวข้อเรื่อง “Future of Education” โดยกล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยที่จะเปลี่ยนไปในอนาคต มหาวิทยาลัยจะเป็นสถานที่บ่มเพาะเพื่อผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิตที่จะตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต
อีกหนึ่งไฮไลท์ของงานคือพิธีมอบรางวัลให้แก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีประกวดต่าง ๆ รวมถึงรางวัลสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคว้ารางวัลใหญ่ด้านการอุดมศึกษาถึง 2 รางวัลได้แก่
1. รางวัลสถาบันการอุดมศึกษาดีเด่นที่มีจำนวนศาสตราจารย์เพิ่มขึ้นสูงสุด สายสังคมศาสตร์ จากคณะรัฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
2. รางวัลสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับรองคุณภาพการศึกษานานาชาติสูงสุด จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้